22 เมษายน 2566 “วันคุ้มครองโลก” ชวนตระหนักความสำคัญของมลภาวะ-สิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/194596
22 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันคุ้มครองโลก” (Earth Day) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ United Nations Environment Program (UNEP) เพื่อให้ผู้คนบนโลกได้ตระหนักถึงการกระทำต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดนี้
คนแรก คือ เกย์ลอร์ด เนลสัน สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ในประเทศไทย ได้มีการจัดให้มีการรณรงค์วันคุ้มครองโลกขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยโรงเรียนสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2533 ถือเป็นยุคเริ่มต้นของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังจากที่ นายสืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กระทำอัตวินิบาตกรรม อาจารย์และนักศึกษารวม 16 สถาบันได้จัดงานวันคุ้มครองโลกขึ้นเพื่อรณรงค์
ให้คนไทยเห็นความสำคัญของป่า และตระหนักถึงวิกฤตการทำลายสัตว์ป่าและป่าไม้ของประเทศไทย
กิจกรรมน่าสนใจในวันคุ้มครองโลก ดังนี้
1. การปลูกต้นไม้ รวมถึงการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่
2. การเรียนรู้เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม และประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้
3. การคัดแยกขยะในแต่ละครัวเรือน เพื่อนำไปรีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ เป็นการลดปริมาณขยะ และลดภาวะโลกร้อน
4. ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง เพื่อลดการเกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
5. ใช้ภาชนะใส่อาหารที่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติแทนพลาสติกและกล่องโฟม
6. ลดการใช้พลังงาน เช่น ปิดไฟ ปิดน้ำเมื่อไม่ใช้ ถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า ปั่นจักรยานแทนการใช้รถยนต์ เป็นต้น