22 มีนาคม 2564 ฉลามโบราณทรงแปลกมีครีบคล้ายปีกยาว

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/2054468
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลฉลามชนิดหนึ่งในเหมืองหินปูนบาเยซิโย ในรัฐนวยโว เลออง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเม็กซิโก ฉลามตัวนี้มีชีวิตอยู่เมื่อ ๙๓ ล้านปีก่อนในปลายยุคครีเตเชียส ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเรนน์ส และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศสระบุว่า ฉลามชนิดนี้คือ Aquilolamna milarcae ดูคล้ายลูกผสมระหว่างฉลามกับกระเบนราหู ฉลาม Aquilolamna milarcae มีลักษณะพิเศษคือ ความกว้างมากกว่าความยาว มันมีปีกกว้าง ๑.๙ ม. และลำตัวยาวประมาณ ๑.๖ ม. แม้จะยังไม่ชัดเจนว่าซากฟอสซิลนี้เป็นของฉลามเด็กหรือผู้ใหญ่ แต่นักบรรพชีวินวิทยาก็เชื่อว่า มันน่าจะเป็นฉลามตัวเต็มวัย และสายพันธุ์นี้อาจเป็นฉลามขนาดกลาง ซึ่งมีความยาวสูงสุด ๓ ม. ขณะที่ฟันของมันอาจจะเล็กมากเช่นกัน ทีมวิจัยได้เปรียบเทียบฟอสซิลกับฉลามยุคใหม่ ๒๖ ชนิด โดยพิจารณาจากรูปร่างของกระดูกสันหลังและโครงกระดูกของครีบหาง ชี้ให้เห็นว่า Aquilolamnamilarcae อยู่ในอันดับ Lamniformes แบบเดียวกับฉลามขาวยักษ์ นักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า สิ่งที่น่าสงสัยก็คือ ฉลาม Aquilolamna milarcae ล้มหาย ตายจากไปในเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทั่วโลกเมื่อ ๖๖ ล้านปีก่อนที่คร่าชีวิตไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ และ ๓ ใน ๔ ของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ได้อย่างไร นี่คืออีกหนึ่งที่ท้าทายการค้นหาคำตอบ