22 พฤษภาคม 2563 สัตว์เลื้อยคลานโบราณมีการเคลือบฟัน

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1849983
สัตว์เลื้อยคลานที่รู้จักกันในชื่อ Pri-osphenodon เป็นสัตว์กินพืชตั้งแต่ยุคปลายยุคครีเตเชียส มีความยาวประมาณ ๑ ม. อยู่ในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานที่เรียกว่า Sphe-nodontians นักบรรพชีวินวิทยามองว่า Priosphenodon เป็นสัตว์มีฟันที่แปลกประหลาดที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะมีลักษณะเฉพาะต่างไปก็คือ ฟันที่เพิ่มใหม่ตรงปลายด้านหลังของขากรรไกรทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา เผยว่า ลักษณะบางประการของฟัน Priosphenodon ทำให้คิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในวิวัฒนาการของฟันสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรก จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลฟัน Priosphenodon ที่พบในจังหวัดริโอ เนโกร ประเทศอาร์เจนตินา นักวิจัยได้ตรวจสอบรายละเอียดระดับเนื้อเยื่อที่เก็บรักษาไว้ในฟันและใช้การตรวจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบไม่รุกรานซากฟอสซิลพบว่า มีเคลือบฟันที่หนากว่าฟันของสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่นๆ และการสึกหรอของฟันแสดงว่า มันกินอาหารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ซึ่งสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในบรรพบุรุษสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรกของเรา นักวิจัยเผยว่า มีกิ้งก่าชนิดหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันเคลือบฟันแบบเดียวกับ Priosphenodon อย่างไรก็ตาม สัตว์เลื้อยคลานทั้ง ๒ ชนิดกลับไม่ได้เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด