21 กันยายน 2566 CBAM นับถอยหลังก่อนใช้ 1 ต.ค. 66 “ธุรกิจไทย”คว้าโอกาสจากความท้าทาย

ป้ายภาษีคาร์บอน

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/environment/1089204

สหภาพยุโรป (EU) ได่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ลง 50-55% ภายในปี 2573 และในปี 2593 ที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามที่ตกลงกันไว้ในสนธิสัญญาปารีส ซึ่งมาตรการ CBAM เป็นมาตรการสำคัญของ European Green Deal ที่จะนำมาปรับใช้และจะมีผลต่อการส่งออกสินค้าไทยไปสู่ยุโรปอย่างเลี่ยงไม่ได้

พัทธ์กมล ทัตติพงศ์ ผู้อำนวยการส่วนยุโรป 2 สำนักยุโรป กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ผู้นำเข้าจะต้องซื้อใบรับรอง CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ตามปริมาณการปล่อยคาร์บอน ซึ่งราคาใบรับรองจะอ้างอิงตาม ราคาซื้อขายใบอนุญาตปล่อยคาร์บอนในตลาดของ EU ซึ่งบังคับใช้กับสินค้า 6 กลุ่ม ได้แก่ 1. เหล็กและเหล็กกล้า 2. อะลูมิเนียม 3. ซีเมนต์ 4. ปุ๋ย 5. ไฟฟ้า 6. ไฮโดรเจน โดยจะครอบคลุม Downstream products บางรายการด้วย เช่น น็อต สกรูเหล็ก และสายเคเบิลอะลูมิเนียม โดยหลังจากปี 2569 อาจจะเพิ่มเคมีภัณฑ์อินทรีย์ และโพลิเมอร์ รวมทั้งตั้งเป้าจะขยายขอบเขตให้ครอบคลุม ทุกสินค้าที่อยู่ภายใต้ระบบ EU-ETS ภายในปี 2573

ปฐม ชัยพฤกษทล ผู้จัดการอาวุโสโครงการ CBAM กล่าวว่า ผู้นำเข้าจะต้องรายงาน ปริมาณสินค้าที่กำหนด ค่าคาร์บอนแฝงของสินค้า และวัตถุดิบที่เกี่ยวข้อง และค่าธรรมเนียมคาร์บอนที่จ่ายตามกลไกราคา ในระบบ CBAM Transitional registry โดยสำหรับสินค้าที่นำเข้าในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2023 เริ่มรายงานได้ตั้งแต่ 31 ม.ค. 2024 ถึงการรายงานช่วงสุดท้ายของสินค้านำเข้าในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2025 ภายใน 31 ม.ค. 2026 เพื่อให้ EU เก็บข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงระเบียบวิธีที่ใช้กับระบบ MRV ของ CBAM ซึ่งปรับปรุงจาก EU ETS กำหนดนิยามของผู้รายงาน ส่วนลดจากค่าธรรมเนียมคาร์บอนที่จ่ายแล้ว และราคาเฉลี่ยของค่าธรรมเนียมคาร์บอน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy