20 เมษายน 2567 ธนาคารน้ำใต้ดิน’ ความมั่นคงทรัพยากรน้ำ ‘หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร’

ที่มา : The Bangkok Insight (https://www.thebangkokinsight.com/news/environmental-sustainability/1310133/)
“น้ำ” คือทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญยิ่ง ทั้งใช้ในการอุปโภค บริโภค ในครัวเรือน ภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม การบริหารจัดการน้ำที่ดีย่อมทำให้มีทรัพยากรน้ำไว้ใช้ได้อย่างเพียงพอ นวัตกรรม “ธนาคารน้ำใต้ดิน” นับเป็นหนึ่งในการบริหารจัดการน้ำแบบสมดุลที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ในการรับมือภัยแล้ง และน้ำท่วม จากความแปรปรวนของสภาว : อากาศที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น
วันนี้ พาขึ้นเหนือไปจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อชมความสำเร็จของ “หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร” ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ที่นอกจากจะเป็นหมู่บ้านต้นแบบ “ชุมชนคนเลี้ยงหมู” แล้วที่นี่ยังเดินหน้าโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน จนปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรมการดำเนินโครงการตามกลยุทธ์”ขีด คิด ร่วม ขาย” จากการนำ “ขีด” ความสามารถของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการระบบน้ำ มาขับเคลื่อนโครงการ ภายใต้การสนับสนุนของผู้บริหารหมู่บ้าน ร่วมกับทีมงานของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ที่มาร่วม “คิด” นำแนวคิดนวัตกรรมสู่ความยั่งยืนด้วยการทำธนาคารน้ำ ช่วยลดปัญหาปริมาณน้ำท่วมข้ง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำและนำพื้นที่กลับมาใช้ประโยชน์ผ่านการมีส่วน “ร่วม” ของทีมงานและผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ที่ร่วมกันสนับสนุนร่วมถึงวางแผนงานโครงการและร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างเครือ “ข่าย” ความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ โครงการนี้ เริ่มต้นจากการศึกษาดูงานความสำเร็จของโครงการธนาคารน้ำใต้ดินของ หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ และถ่ายทอดต่อไปยังเกษตรกร ขณะเดียวกัน ได้เชิญวิทยากรจาก อบต.วังหามแห จังหวัดกำแพงเพชร มาบรรยายให้ความรู้ และทำ Workshop ร่วมกันทั้งชาวชุมชน เกษตรกร และทีมงาน วมทั้งเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า มาให้คำแนะนำโครงการ กระทั่งสามารถสร้างระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ทั้งรูปแบบบ่อปิดและแบบบ่อเปิด
รวม 10 บ่อในพื้นที่โครงการ
พิเชษฐ์ บอกว่า ธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นการบริหารจัดการน้ำใต้ดินแบบครบวงจร ช่วยแก้ไขปัญหาทั้งปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำหลาก และยังช่วยป้องกันการสูญเสียสมดุลของน้ำใต้ดิน หลังจากดำเนินโครงการนี้แล้วสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มพื้นที่ทางการเกษตรให้กับชุมชน ทั้งยังสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับเกษตรกร ปัจจุบัน ได้พัฒนาเป็น ศูนย์เรียนรู้การบริหารการจัดการกักเก็บน้ำใต้ดิน ถ่ายทอดองค์ความรู้ และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของหน่วยงาน และน้อง ๆ นักเรียนนักศึกษาในพื้นที่ และวางแผนต่อยอดสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ หลักสูตรชลกร ร่วมกับวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีกำแพงเพชรต่อไป