20 กุมภาพันธ์ 2563 ศึกษากระบวนการภายในร่างกายไดโนเสาร์

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1775596
เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมวิจัยนำโดย ศ. ฮาจิท แอฟเฟ็ก จากสถาบันวิทยาศาสตร์โลกแห่งมหาวิทยาลัยฮีบรูในกรุงเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล เผยถึงการไขปริศนาที่สงสัยมานานว่า ไดโนเสาร์ควบคุมอุณหภูมิร่างกายอย่างไร และเป็นสัตว์เลือดอุ่นหรือสัตว์เลือดเย็น โดยใช้วิธีวัดอุณหภูมิ
ในประวัติศาสตร์ เรียกว่า clumped isotope geochemistry มาวิเคราะห์พันธะทางเคมีในหมู่ไอโซโทปหนักในแร่แคลเซียมคาร์บอเนตอันเป็นส่วนผสมหลักในเปลือกไข่ ช่วยคำนวณทั้งอุณหภูมิที่แร่ธาตุก่อตัว และอุณหภูมิร่างกายของแม่ที่วางไข่สภาพอากาศทั่วโลกในยุคไดโนเสาร์นั้นอบอุ่นกว่าปัจจุบัน การวัดอุณหภูมิร่างกายไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงบอกไม่ได้ว่าร่างกายเป็นแบบดูดความร้อน (endothermic) หรือคายความร้อน (exothermic) ทีมเลยวิจัยไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในละติจูดสูง เช่น รัฐอัลเบอร์ตา ในประเทศแคนาดา โดยใช้ฟอสซิลไดโนเสาร์ 3 สายพันธุ์ที่แตกต่างกันไปตามเส้นทางวิวัฒนาการจากสัตว์เลื้อยคลานไปถึงนก ซึ่งพบว่า อุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 35 – 40 องศาเซลเซียส แต่ข้อมูลนี้ไม่ได้ให้คำตอบว่า ไดโนเสาร์ดูดความร้อน หรือสร้างความร้อนในร่างกายตัวเอง หรือได้รับความอบอุ่นจากดวงอาทิตย์ และสิ่งแวดล้อม ทีมเผยว่า จากการกำหนดอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมในอัลเบอร์ตายุคที่มีไดโนเสาร์ และวิเคราะห์พันธะทางเคมีในหมู่ไอโซโทปกับเปลือกหอยมอลลัสค์ (mollusk shells) ที่พบข้างซากไดโนเสาร์ หอยเป็นสัตว์เลือดเย็นจึงสะท้อนบรรยากาศช่วงเวลานั้น อุณหภูมิหอยวัดได้ 26 องศาเซลเซียส ชี้ให้เห็นว่า ไดโนเสาร์ที่อาศัยในรัฐอัลเบอร์ตาเป็นแบบดูดความร้อน (endothermic) ไม่เช่นนั้นจะไม่อาจรักษาอุณหภูมิของร่างกายไว้ที่ 35 – 40 องศาเซลเซียสได้