2 มกราคม 2564 นักวิทย์รัสเซียพบฟอสซิล “แรดขนยาว” โผล่จากชั้นดินเยือกแข็งละลายในไซบีเรีย

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_5651511
นักวิทยาศาสตร์รัสเซียกำลังสำรวจซาก แรดขนยาว (woolly rhinoceros) ที่อยู่ในสภาพดี ภายหลังค้นพบในสาธารณรัฐซาฮา (ยาคูเทีย) ภูมิภาคการผลิตเพชร ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของภูมิภาคไซบีเรียเพิ่มขึ้น ทำให้อาร์ติกอุ่นขึ้นในอัตราเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ของโลก และลายผืนดินบางพื้นที่ถูกปกคลุมด้วย ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว มาเป็นเวลานานแสนนาน
วาเลรีย์ ปลอตนีคอฟ นักวิทยาศาสตร์รัสเซีย ให้สัมภาษณ์ ยาคูเทีย 24 สื่อท้องถิ่น ว่า ฟอลซิลแรดถูกค้นพบที่แม่น้ำแห่งหนึ่งในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ด้วยสภาพสมบูรณ์ที่มี ลำตัว อวัยวะบางส่วน และ นอ ซึ่งเป็นส่วนหายากยิ่ง แม้กระทั่ง ขนของแรด
ปลอตนีคอฟกล่าวว่า แรดขนยาวอาจมีชีวิตอยู่ใน สมัยไพลสโตซีน ซึ่งสิ้นสุดเมื่อ 11,700 ปีก่อน และดูจะใช้นอของมันเพื่อเก็บอาหาร สังเกตได้จากรอยสึกจำนวนมากที่พบตามนอนั่นเอง