2 พฤษภาคม 2566 “ซากปรักหักจากแผ่นดินไหวตุรกีส่อแววปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม”

รถดัมพ์หลายคันกำลังทิ้งซากปรักหักพังจากเหตุแผ่นดินไหวในตุรกี

ที่มา : https://english.news.cn/20230502/12050d6bf17446dbac510707845596bc/c.html

จากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ตุรกีในตอนนี้กำลังเผชิญกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในการกำจัดขยะและเศษหินหรืออิฐที่เหลือจากอาคารและถนนที่ถูกทำลาย รัฐบาลตุรกีขนานนามภัยพิบัตินี้ว่า “ภัยพิบัติแห่งศตวรรษ” ซึ่งทำให้อาคาร 227,000 หลัง พังทลายหรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก

ขณะนี้การก่อสร้างกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ โดยคนงานได้เริ่มเก็บกวาดเศษหินหรืออิฐจำนวนมากประมาณ 2 สัปดาห์หลังเกิดภัยพิบัติ โดย Durmus Sezgin คนงานก่อสร้างกล่าวว่า รถขุดหลายร้อยคันทำงานหามรุ่งหามค่ำ เพื่อกำจัดกลุ่มฝุ่นขณะร่อนผ่านซากปรักหักพัง รื้อถอนอาคารที่เหลือ ซึ่งทางการท้องถิ่นพิจารณาว่าไม่เหมาะที่จะอยู่อาศัย Sezgin กล่าวต่อว่า เศษหินที่ถูกเก็บไว้ในถังขยะชั่วคราวทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับมลพิษจากสารเคมีต่าง ๆ เช่น แร่ใยหิน ซึ่งเป็นเส้นใยที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่เคยใช้เป็นวัสดุฉนวนในอดีต แต่ตอนนี้ถูกห้ามใช้แล้วในประเทศส่วนใหญ่รวมถึงตุรกี

เมื่อต้นเดือนเมษายน Yasin Ilmen นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Mugla Sitki Kocman ตะวันตก ได้ทวีตเตือนถึงการทิ้งขยะที่ไม่มีการควบคุมอาจส่งผลที่เป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสัตว์ป่า ซึ่ง Sedat Gundogdu ผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษพลาสติกแห่งมหาวิทยาลัย Cukurova ได้เสริมว่า “หากไม่มีการควบคุมการจัดการเศษหินหรืออิฐใน 10-15 ปี เราจะเผชิญกับโรคปอดร้ายแรงและโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้น”

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy