19 พฤษภาคม 2566 “ทำแห้งชีวภาพ” พัฒนาเชื้อเพลิงขยะ

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/2694899
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้การสนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) พัฒนากระบวนการทำแห้งชีวภาพเพื่อการปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี biodrying โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ด้วย Biological digestion และอาศัยหลักการทาง Thermodyna mic ในการไล่ความชื้นออกแบบ Physical drying เพื่อลดความชื้นจากขยะมูลฝอยและเพิ่มความร้อนให้เชื้อเพลิงมูลฝอยด้วย โดยตั้ง เป้าหมายลดระดับความชื้นของขยะเท่ากับหรือน้อยกว่าร้อยละ 30 และมีค่าความร้อนมากกว่า 4,000 Kcal/kg ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน สามารถนำไปขยายผลเชิงพาณิชย์ได้
“ขยะเป็นปัญหาที่ถูกยกเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องรีบแก้ไข ซึ่งจากข้อมูลปริมาณขยะพลาสติกทั่วประเทศพบว่ามีปริมาณเฉลี่ย 68,000 ตัน/วัน รวมถึงรัฐบาลไทยเสนอแผนพัฒนาพลังงานระยะยาวของประเทศ
มีเป้าหมายในการเพิ่มผลิตกระแสไฟฟ้า จากขยะ 500 MW และผลิตความร้อน 495 ktoe ภายในปี 2036 โดยส่งเสริมให้มีโรงคัดแยกและผลิตพลังงานจากขยะแบบครบวงจร แต่ปัญหาหลัก คือ ขยะมีความชื้นสูง ดังนั้น วช.จึงสนับสนุน
ทีมวิจัย มจธ. พัฒนากระบวนการทำแห้งชีวภาพเพื่อการปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิง”
ด้าน ผศ.ดร.คมศิลป์ วังยาว นักวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มจธ.กล่าวว่า โครงการนี้ช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดมูลค่าของขยะมูลฝอยชุมชน ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและกำจัดขยะ สร้างความมั่นคงด้านพลัง แก้ปัญหาขยะให้กับชุมชนได้จริง
ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการกำจัดขยะแบบไม่ถูกหลักสุขาภิบาลและขยะล้นเมือง เกิดการสร้างงานและรายได้สู่ชุมชน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้จะมีการต่อยอดเชิงพาณิชย์ในอนาคต ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมต้นแบบสำหรับเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงคุณภาพสูงจากขยะมูลฝอยของประเทศไทย ที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาด้านคุณภาพของเชื้อเพลิงขยะ ที่ส่งผลกับการใช้งานของผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้โดยตรง