18 เมษายน 2568 – 22 เมษายน วันคุ้มครองโลก : พลังเยาวชนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”

วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ตรงกับวันที่ สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม เมษายนของทุกปี ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ สหรัฐอเมริกา97วันคุ้มครองโลก โดยเกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord..Nelson) สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเล็งเห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้น จึงได้ผลักดันให้เกิดการรวมตัวกันของชาวอเมริกันกว่า สิ่งแวดล้อมวันคุ้มครองโลก ล้านคนทั่วประเทศเพื่อร่วมกันปกป้องสิ่งแวดล้อม จนมีการตั้งองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น นำไปสู่การออกกฎหมายเพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก และกลายเป็นที่มาของวันคุ้มครองโลก ที่ประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อม
แห่งสหประชาชาติ

สำหรับในปี 2025 ถือเป็นวาระครบรอบ 55 ปี ของการเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก ซึ่งได้สร้างความตระหนักและกระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นไปที่สุขภาพของโลก อากาศ มหาสมุทร ดิน ระบบนิเวศ สัตว์ป่า และสุขภาพมนุษย์ ซึ่งในปีนี้มาพร้อมกับธีม “OUR POWER, OUR PLANET” หรือ “พลังของเรา โลกของเรา” โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การผลักดันพลังงานหมุนเวียน และเพิ่มการผลิตไฟฟ้าสะอาดให้ได้ถึง 3 เท่าภายในปี 2030 เพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อนและลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลพิษ

น้องกานต์ ตัวแทนเยาวชนผู้เข้าร่วมผลักดันสิ่งแวดล้อม จากมูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทยฯ

“ปัจจุบันปัญหามลพิษทางอากาศ ขยะมูลฝอยที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ภาวะโลกร้อน ความแห้งแล้งและโรคระบาด สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย รวมไปถึงสุขภาพด้านจิตใจ เด็กทุกคนควรมีชีวิตและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดโปร่ง ปลอดภัย มีพื้นที่ได้วิ่งเล่น และใช้ชีวิต รวมไปถึงการได้รับประทานอาหารและน้ำที่สะอาดถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5. และการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ทุกโรงเรียนปิดการเรียนการสอนไปน้องๆ เด็กๆ รวมถึงตัวหนูเองไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรม ดังนั้นในฐานะที่หนูเป็นตัวแทนของเยาวชนมูลนิธิเด็กโสสะฯ พวกเราได้มีโอกาสทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น การทำกิจกรรม save oceans save life การทำถังขยะรีไซเคิลจากห่วงยาง ขวดพลาสติก รวมไปถึงการวาดรูป ระบายสีถังขยะ นำไปวางในจุดต่าง ๆ ตามชายหาด , การปลูกป่าชายเลน เพื่อคืนบ้านให้กับสัตว์น้ำ ตลอดจนการทำฝายกั้นน้ำร่วมกับคนในชุมชน เพื่อได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกันต่อสังคม”

“ถ้าหนูได้มีโอกาสเข้ามาเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสิ่งที่หนูจะทำคือ ว่าด้วยเรื่องสิทธิของเด็กในกลุ่มชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากยังมีกลุ่มน้อง ๆ ที่ยังถูกมองข้ามหรือเกิดการเลือกปฏิบัติ หนูอยากเป็นกระบอกเสียงเพื่อช่วยเหลือพวกเขาให้ได้มีสภาพแวดล้อมรวมถึงการศึกษา อาหารที่ดี ปราศจากอันตราย ทั้งด้านของร่างกายและจิตใจ พวกเราได้มีโอกาสเติบโตขึ้นมาในหมู่บ้านที่อบอุ่น ร่มรื่น ได้รับความรักและการเลี้ยงดูที่ดี หนูเชื่อว่าหากปัญหาเหล่านี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงและการช่วยเหลือที่ครอบคลุม เด็กๆ และเยาวชนทุกคนจะเติบโตอย่างมีคุณภาพ”

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy