17 เมษายน 2568 วิจัยเผย ป่าไม้แบบผสม รับมืออากาศสุดขั้วได้ดีกว่าป่าเชิงเดี่ยว

Florian Schnabel และทีมจากศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเชิงบูรณาการในเมือง Leipzig ประเทศเยอรมนี เผยผลการศึกษาวิจัยล่าสุด พบว่า ป่าที่พรรณไม้หลากหลาย สามารถปรับตัวและรับมือกับสภาพอากาศที่รุนแรง
ได้ดีกว่าป่าเชิงเดี่ยว (monoculture)

การศึกษาดังกล่าวดำเนินการในพื้นที่ป่า Xinggangshan ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศจีน โดยเป็นหนึ่งในป่ากึ่งเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก นักวิจัยได้ติดตามและวัดอุณหภูมิในพื้นที่ดังกล่าวเป็นระยะเวลากว่า 6 ปี

ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่มีพันธุ์ไม้หลากหลายสามารถลดอุณหภูมิได้ถึง 4 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อน และยังคงรักษาความอบอุ่นได้ในฤดูหนาว เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ซึ่งปลูกป่าเชิงเดี่ยว เป็นการผสมผสานระหว่างการปลูกป่าไม้ผลยืนต้น และพืชไร่ ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อเป็นอาหารหรือจำหน่าย มีไม้ใช้สอยในครัวเรือน และไม้เพื่อก่อสร้าง ซึ่งมีการระบายความร้อนและการเก็บรักษาอุณหภูมิในระดับที่เหมาะสมประสิทธิภาพด้อยกว่าป่าที่มีพรรณไม้หลากหลายอย่างชัดเจน

ที่มา : https://www.springnews.co.th/keep-the-world/environment/857150

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy