17 ตุลาคม 2565 ยั่งยืนบนความหลากหลาย หัวใจการลงทุน แห่งอนาคต

ที่มา ยั่งยืนบน ความหลากหลาย หัวใจการลงทุน แห่งอนาคต (bangkokbiznews.com)

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญไม่แพ้ปัญหา “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” คือ วิกฤติการถดถอยของความหลากหลายทางชีวภาพ ข้อมูลจาก องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล WWF ระบุถึงสถานการณ์ระบบนิเวศของโลกว่า ความหลากหลายทางชีวภาพโดยรวมลดลงอย่างน่าเป็นห่วง

“ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร” รองเลขาธิการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย กล่าวภายในงานสัมมนาออนไลน์ (Webinar) หัวข้อ “Investment in Nature and Biodiversity” จัดโดย สหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN in Thailand) ร่วมกับ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก แห่งประเทศไทย (GCNT : Global Compact Network Thailand) โดยระบุว่า ภายใต้สถานการณ์ที่ธรรมชาติถูกคุกคามอย่างหนัก การลงทุนเพื่อปกป้องฟื้นฟูธรรมชาติ จะตอบแทนด้านเศรษฐกิจได้ถึง 30 เท่า สำหรับประเทศไทย ที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นกลไกหลักทางเศรษฐกิจ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศในแหล่งท่องเที่ยวอาจนำไปสู่การปิดพื้นที่ เพื่อฟื้นฟู

“ดร.เพชร มโนปวิตร” ผู้จัดการโครงการประเมินระบบนิเวศระดับชาติ เผยถึง ความท้าทายด้านความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศบริการ มักจะไม่ได้รับการเห็นคุณค่าและถูกมองว่าได้มาฟรี จึงเกิดต้นทุนที่ไม่มีใครรับผิดชอบการกำหนดนโยบายเมื่อมองข้ามส่วนนี้ไป ทำให้ไม่มีการบูรณาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปในเรื่องของนโยบาย และภาคปฏิบัติ สะท้อนไปยังภาคส่วนต่างๆ ที่ยังไม่ตระหนักหรือต้นทุนธรรมชาติและระบบนิเวศบริการที่สูญเสียไประหว่างการดำเนินธุรกิจ รวมถึงซัพพลายเชนด้วย

ทำให้เกิด “โครงการประเมินระบบนิเวศระดับชาติ” (National Ecosystem Assessment: NEA) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมัน ร่วมกับ UNEP และ UNESCO ต้องการที่จะให้เกิดความแบ่งปันความรู้ระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพ นโยบาย และผู้ที่มีส่วนตัดสินใจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีองค์ความรู้ชุมชนท้องถิ่น การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน พัฒนาศักยภาพแบ่งปันประสบการณ์ บทเรียน ด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพที่ผ่านมา และการมีส่วนร่วมระดับสากล โดยประเทศไทยมีการพูดคุยและโฟกัสในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง  

อีกทั้งเกิด แพลตฟอร์มนโยบายวิทยาศาสตร์ระหว่างรัฐบาลว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการระบบนิเวศ (IPBES) เพื่อให้วิทยาศาสตร์และระดับนโยบายเข้าใจกันมากขึ้น นำองค์ความรู้ที่ก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์กับนโยบายให้ทันสมัยมากขึ้น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy