16 พฤศจิกายน 2563 ค้นพบไซโนดอนต์พันธุ์ใหม่อายุ ๒๒๐ ล้านปี

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1977192

การค้นหาซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของไซโนดอนเทีย (Cynodontia) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มเทอแรพซิด (therapsid) ซึ่งเทอแรพซิดจัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เริ่มพบในยุคเพอร์เมียน และไทรแอสซิก เป็นฟอสซิลที่หายากมากในทวีปอเมริกาเหนือ แต่การค้นพบชิ้นส่วนฟอสซิลกระดูกขากรรไกรล่างของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายหนู ในอุทยานแห่งชาติป่าหิน รัฐอริโซนาเมื่อปีที่แล้ว โดยนักศึกษาปริญญาเอกด้านธรณีศาสตร์จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันโพลีเทคนิคและมหาวิทยาลัยรัฐเวอร์จิเนีย หรือเวอร์จิเนียเทค ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่าฟอสซิลนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ของไซโนดอนต์ (Cynodont) หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบุว่า มีอายุ ๒๒๐ ล้านปี สายพันธุ์ใหม่นี้มีชื่อว่า Katai – gidodon venetus พวกมันอยู่ร่วมยุคไดโนเสาร์ และอาจเป็นไดโนเสาร์ยุคแรกๆ ที่สัมพันธ์กับซีโลไฟซิต (Coelophysis) เป็นไดโนเสาร์ที่วิ่งได้รวดเร็ว ที่น่าสนใจคือ Kataigidodon ve-netus น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคปัจจุบัน นักวิจัยเผยว่า การค้นพบนี้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมในช่วงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคแรก และเพิ่มหลักฐานว่า สภาพอากาศชื้นมีบทบาทสำคัญในวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคแรกๆ และเครือญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของมัน

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy