16 ตุลาคม 2565 ทำความรู้จัก “แม่น้ำโขง” ระบบนิเวศลุ่มน้ำทรงคุณค่า ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าการว่ายน้ำข้าม

ที่มา : https://mgronline.com/science/detail/9650000096904

“แม่น้ำโขง” 1 หนึ่งใน 10 แม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก พรมแดนธรรมชาติของประเทศไทย
ด้านทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ สายน้ำสำคัญที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่โบราณ และกำลังจะแปรเปลี่ยนไปจากน้ำมือของมนุษย์ จนพูดได้ว่าธรรมชาติของแม่สายนี้เข้าขั้นวิกฤต และอาจไม่สามารถกลับมาเป็นดั่งเดิมได้อีกครั้ง 

           “แม่น้ำโขง” เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาอย่างน้อย 1,100 ชนิด ส่งผลให้แม่น้ำสายนี้เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ซึ่งมีปริมาณการจับปลามากกว่า  2.6 ล้านตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ  25 ของปริมาณการจับปลาน้ำจืดทั่วโลก นอกจากนี้ลุ่มน้ำโขง
ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า  430 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกว่า  800 ชนิด นก 1,200 ชนิดพันธุ์ และพันธุ์พืชอีกกว่า  20,000 ชนิด พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง

           ในปัจจุบัน ผู้คนที่อาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่แม่น้ำโขงมีมากขึ้น ทำให้ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำสายนี้มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ หนึ่งในนั้นคือผลกระทบจาก “โครงการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า” 
ซึ่งในปัจจุบันจากข้อมูลในการสำรวจได้มีการก่อสร้างเขื่อนในพื้นที่แม่น้ำโขงเกือบสิบแห่ง ซึ่งการสร้างเขื่อน
และการปล่อยน้ำจากเขื่อนนั้นได้ทำให้ระดับน้ำขึ้น – ลงเกิดภาวการณ์ผันผวนของระดับน้ำที่ผิดฤดูกาลสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ริมน้ำแม่น้ำโขงยังได้รับผลกระทบในเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่นกัน อาทิ การทำประมงเกินขนาด มลพิษจากขยะที่ทิ้งไม่ถูกวิธี
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้ แม่โขงสายน้ำแห่งชีวิตนี้ จึงควรได้รับความเป็นห่วง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเร็ววัน เพราะหากนานวันวิกฤตนี้อาจจะไม่สามารถแก้ไขได้อีกต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy