16 กรกฎาคม 2566 รู้จัก! อิฐรักษ์โลก ทำจากขยะพลาสติก ราคาถูกกว่าอิฐทั่วไป ทนทานกว่าด้วย

ที่มา : springnews (https://www.springnews.co.th/keep-the-world/sustainable/840600)
“อิฐรักษ์โลก” นวัตกรรมใหม่ที่เด็ก ๆ โรงเรียนเกาะพะงันศึกษาต้องแยกขยะให้ถูกและมีวินัยในการแยกขยะจึงจะได้สนามตระกร้อตามที่ฝันไว้ และแก้ปัญหาขยะบนเกาะอย่างมีคุณภาพ นี่คือหน้าตาของ “ก้อนอิฐรักษ์โลก” ที่หน้าตาเหมือนอิฐทั่วไป แต่เป็นอิฐที่แข็งแรงกว่าและผลิตจากขยะพลาสติก
เป็นผลงานของชุมชนและเด็ก ๆ โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา ได้รับการสนับสนุนจากซีพี ออลล์ และเซเว่น อีเลฟเว่นในการรณรงค์ให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนแยกขยะอย่างถูกวิธี ตั้งแต่ขยะชิ้นใหญ่ไปจนถึงขยะชิ้นเล็ก รวมถึงมีการจัดอบรมสอนให้เด็ก ๆ เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของการคัดแยกขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้นโยบาย
7 Go Green ซึ่งที่นี่ไม่สอนให้เด็กเรียกของที่ใช้แล้วว่า “ขยะ” แต่ให้เรียกว่ “วัสดุเหลือใช้” แทน เพราะมันสามารถนำไปต่อยอดได้ทุกชิ้น ซึ่งแยกออกมาเป็น วัสดุที่ย่อยสลายได้กับย่อยสลายไม่ได้ วัสดุที่ย่อยสลายได้จะนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ในโรงเรียน ส่วนวัสดุที่ย่อยสลายไม่ได้จะถูกนำไป Upcycle เป็นก้อนอิฐรักษ์โลกแบบนี้ อิฐรักษ์โลก ก้อนต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลงานที่ได้รับการทดสอบมาแล้วว่าใช้งานได้จริงและทนทาน แข็งแรงกว่าอิฐก้อนทั่วไป มีส่วนผสมหลักคือ พลาสติกที่ตัดเป็นเส้น ๆ มาแล้ว ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป กาวลาเท็กซ์ น้ำมันพืชใช้แล้ว และน้ำยาประสานซีเมนต์ เพื่อป้องกันอิฐแตกหักและป้องกันขยะพลาสติกหลุดลอดออกไปเป็นไมโครพลาสติก
ในอดีต การจัดการกับขยะบนเกาะพะงัน ชาวบ้านใช้วิธีการเผาและการฝังกลบ ทำให้บนเกาะ
มีหลุมฝังกลบอยู่เต็มไปหมด ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ชาวบ้านต้องง้อคนรับซื้อขยะให้มารับซื้อขยะออกจากเกาะไป แต่ผู้ประกอบการรับซื้อขยะมองว่า การนำขยะจากเกาะไปขายนั้นไม่คุ้มทุน จึงไม่ค่อยมีใครอยากที่รับกำจัดขยะจากเกาะสักเท่าไหร่ ไหนจะนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาไม่ขาดสาย ทำให้บนเกาะ
มีขยะมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ งั้นทำยังไงดีให้ขยะบนเกาะถูกจัดการได้อย่างถูกวิธีและไม่เป็นพิษ
ต่อสิ่งแวดล้อม ซีพี ออลล์ และเซเว่น อีเลฟเว่นจึงเล็งเห็นปัญหานี้และได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ
ผ่านโครงการ “Green Living รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง”