15 ตุลาคม 2563 ประสาทสัมผัสของไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้อ

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1952610

นักบรรพชีวินวิทยาไม่มากนักที่ให้ความสนใจกับผิวหนังของไดโนเสาร์ แต่เรื่องนี้ไม่ได้ถูกละเลยจากนักบรรพชีวินวิทยาของศูนย์วิจัยพาเลโอไซเอนซ์แห่งมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย พวกเขาค้นพบหลักฐานที่น่าทึ่งเกี่ยวกับประสาทสัมผัสในฟอสซิลผิวหนังของไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้ออายุ ๑๕๕ ล้านปีซากฟอสซิลเป็นของไดโนเสาร์อายุน้อยพันธุ์จูราเวเนเตอร์ (Juravenator) อาศัยในยุคจูราสสิกตรงดินแดนที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซากนี้ถูกธรรมชาติอนุรักษ์ไว้อย่างสมบูรณ์แบบตั้งแต่จมูกจนถึงหาง รวมถึงผิวหนังเป็นเกล็ดและเนื้อเยื่ออ่อนอื่นๆ นักบรรพชีวินวิทยาวิเคราะห์เกล็ดที่อยู่ด้านข้างของหางก็พบว่า มีลักษณะคล้ายวงแหวนเล็กๆ ที่ไม่เหมือนเกล็ดไดโนเสาร์ทั่วไป แลคล้ายกับปุ่มประสาทสัมผัสพิเศษที่พบบนเกล็ดของจระเข้สมัยใหม่ ปุ่มเหล่านี้เรียกว่าอวัยวะรับสัมผัสที่ปกคลุมอยู่บนผิวหนังทั่วร่างกาย (Integumentary sense organs-ISOs) จะตอบสนองต่อการสัมผัสเคมีและอุณหภูมิ ทำให้จระเข้มีประสาทสัมผัสต่อสิ่งรอบตัว นื่องจากจระเข้เป็นนักล่าในน้ำ นักบรรพชีวินวิทยาจึงสันนิษฐานว่า จูราเวเนเตอร์อาจล่าปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ เช่นกัน ขณะที่อัลลิเกเตอร์หรือจระเข้ตีนเป็ดมีเพียงอวัยวะรับสัมผัสที่อยู่บนผิวหนังหน้า ส่วนจระเข้ที่พบทั่วไปในโลกจะมีอวัยวะรับสัมผัสที่อยู่บนผิวทั่วร่างกายไม่เว้นแม้แต่หาง อย่างไรก็ตาม ถึงผิวหนังส่วนอื่นๆของร่างกายของจูราเวเนเตอร์จะยังไม่กระจ่างแจ้งว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง แต่เป็นไปได้ว่ามันมักจมตัวอยู่ในน้ำเพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของเหยื่อใต้น้ำนั่นเอง

(https://blogs.20minutos.es)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy