15 กรกฎาคม 2563 สร้างกะโหลกหนูยักษ์ดิจิทัลอายุ ๒ ล้านปี

ที่มา:
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1889175
การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลหากเป็นซากที่สมบูรณ์ของสัตว์ชนิดนั้นๆ เป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาวิจัยอย่างมาก แต่บางครั้งก็พบเพียงส่วนซากที่ทำให้นักวิจัยต้องอาศัยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย สร้างให้เป็นรูปร่างหน้าตาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งการสร้างใหม่มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทสำคัญในการวิจัยในอนาคตเมื่อเร็วๆ นี้ นักศึกษาจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮัลล์ ยอร์ก ในอังกฤษ สร้างแบบจำลองดิจิทัลครั้งแรกของกะโหลกศีรษะหนูดอร์เมาส์ (dormouse) มีลักษณะคล้ายกระรอกจิ๋ว แต่ฟอสซิลหนูดอร์เมาส์โบราณตัวนี้กลับมีขนาดใหญ่มหึมา และอาศัยอยู่บนเกาะซิซิลี ในประเทศอิตาลีเมื่อ ๒ ล้านปีก่อน นักวิจัยประเมินว่า หนูที่สูญพันธุ์ไปนาน และมีขนาดใหญ่นี้ดูจะมีขนาดเท่ากับแมวตัวหนึ่ง โดยกะโหลกศีรษะที่สร้างขึ้นใหม่เป็นดิจิทัลมีความยาว ๑๐ ซม. นักวิจัยเผยว่า การใช้วิธีสร้างซากฟอสซิลในแบบดิจิทัลขึ้นใหม่ โดยอาศัยเศษซากกะโหลก เพียงไม่กี่ชิ้น ทำให้การศึกษาสัตว์มีความน่าสนใจ และนำไปสู่ความเข้าใจปรากฏการณ์ทางชีวภาพขนาดร่างกายของสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ละเอียดลึกซึ้ง รวมถึงเข้าใจด้านทรัพยากร การเอาชีวิตรอดของสัตว์เหล่านั้น