14 เมษายน 2568 ‘มนุษย์’ ต้นตอแห่งการสูญเสีย ผู้ทำลาย ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’

นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางน้ำแห่งสหพันธรัฐสวิส (Eawag) และมหาวิทยาลัยซูริก ทำการศึกษาซึ่งครอบคลุมเกือบ 100,000 แห่งทั่วทุกทวีป พบว่ากิจกรรมของมนุษย์ส่งผลให้เกิด “ผลกระทบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนต่อความหลากหลายทางชีวภาพ”

ทีมวิจัยได้ศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัยบนบก น้ำจืด และทะเล รวมถึงสิ่งมีชีวิตทุกกลุ่ม รวมทั้งจุลินทรีย์ เชื้อรา พืช สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ปลา นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จนได้ข้อสรุปว่า แรงกดดันจากมนุษย์ทำให้องค์ประกอบของชุมชนสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน อีกทั้งความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นก็ลดลง

โดยเฉลี่ยแล้ว จำนวนสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากมนุษย์มากกว่าในพื้นที่ที่ไม่มีมนุษย์อยู่อาศัยถึงเกือบ 20% ตามรายงานระบุว่า สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีประชากรลดลงมากเป็นพิเศษ ทำให้เกิดโอกาสในการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีจำนวนมากกว่า

“เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะสามารถอยู่ร่วมกับเราได้ หรือมีจำนวนมากพอ และมีความหลากหลายทางพันธุกรรมเพียงพอที่จะวิวัฒนาการต่อไปได้ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิต ที่ทำหน้าที่สำคัญในระบบนิเวศ เช่น การผสมเกสร
การย่อยสลาย และการแพร่กระจายเมล็ดพืช”

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1174309

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy