14 มีนาคม 2567 ประวัติศาสตร์การสร้างเขื่อน และการ ‘รื้อเขื่อน’ เพื่อคืนความสมดุลให้แก่ระบบนิเวศ

ที่มา https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/2024-79/
การก่อสร้างเขื่อนทั่วโลกเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวพันกับการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมทางอารยธรรมมนุษย์ และแสดงออกให้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์ที่ต้องการควบคุมสิ่งแวดล้อมมาเป็นเวลาหลายพันปี โดยมีการใช้งานตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น การชลประทาน และการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อพัฒนาประเทศ
ตลอดประวัติศาสตร์ของการก่อสร้างเขื่อน มักไม่เคยมีการกล่าวถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องที่ถูกละเลย โดยหารู้ไม่ว่าเขื่อนได้ทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำตามธรรมชาติ ปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลา ทำให้พื้นที่ขนาดใหญ่จมอยู่ใต้น้ำ เกิดผลกระทบด้านลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งน้ำจืด และวัฒนธรรมท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่มักถูกมองข้ามเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของแต่ละประเทศ
จะถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ก่อนเสมอ
โครงการรื้อถอนเขื่อนที่ทะเยอทะยานที่สุดโครงการหนึ่งของยุโรปได้เกิดขึ้นในแคว้นนอร์ม็องดี (Normandie)
ประเทศฝรั่งเศส ที่แม่น้ำเซลูน (Sélune river) การรื้อถอนเขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ Vezins และ La Roche qui Boit ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 20 สำหรับ
การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ หลังจากการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อม และประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการฟื้นฟูแม่น้ำ สุดท้ายก็เกิดการรื้อออกในปี 2019 และวางเป้าหมายฟื้นฟูแม่น้ำและสายน้ำย่อยที่ยาวกว่า 90 กิโลเมตร เพื่อให้น้ำไหลได้อย่างอิสระ และช่วยให้ปลาอพยพ เช่น ปลาแซลมอนและปลาไหล กลับคืนสู่แหล่งวางไข่ตามธรรมชาติ
โดยสรุปแล้ว การรื้อเขื่อนในยุโรปและสหรัฐอเมริกาถือเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟูระบบนิเวศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โลกตะวันตกกำลังปูทางไปสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนมากขึ้นกับภูมิทัศน์ริมแม่น้ำ ด้วยการจัดการกับความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างปัจจัยทางนิเวศวิทยา เศรษฐกิจ และสังคม โครงการริเริ่มนี้เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยเป็นตัวอย่างสำหรับแนวทางปฏิบัติด้านการจัดการน้ำที่ยั่งยืนทั่วโลก