13 สิงหาคม 2563 จีโนมทัวทาราเชื่อมโยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1908816

ทัวทารา (tuatara) เป็นสัตว์เลื้อยคลานหายากกลุ่มสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่นับตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ครองโลก ทว่าตำแหน่งวงศ์ทัวทารา (tuatara) บนต้นไม้แห่งชีวิต (the tree of life) หรือการแสดงสัญลักษณ์วัฏจักรของธรรมชาติกลับเป็นเรื่องที่นักวิชาการถกเถียงกันมานาน มีงานวิจัยระบุว่า วงศ์ทัวทารานั้นเกี่ยวข้องกับกิ้งก่าและงู แต่ดูเหมือนว่าพวกมันจะแยกออกเป็นสายพันธุ์ของตนเองมานานประมาณ ๒๕๐ ล้านปีที่แล้ว ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอดิเลด พิพิธภัณฑ์เซาท์ ออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ จัดลำดับจีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของทัวทารา เผยถึงโครงสร้างผิดปกติและน่าทึ่งว่า จีโนมทัวทารามีคุณสมบัติร่วมกันกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ตุ่นปากเป็ด ตัวอีคิดนา หรือตัวกินมดหนามพบว่า ลำดับดีเอ็นเอบางส่วนมีลักษณะ “การกระโดดของยีน” ซึ่งที่พบในทัวทารานั้น มีความคล้ายคลึงกับที่พบในตุ่นปากเป็ดมากที่สุด ซึ่งจีโนมทัวทารามีการกระโดดของยีนประมาณร้อยละ ๔ ที่พบได้ทั่วไปในสัตว์เลื้อยคลานประมาณร้อยละ ๑๐ พบในตุ่นปากเป็ดและอีคิดนา และที่พบน้อยกว่าร้อยละ ๑ ก็ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกลูกเป็นตัว เช่น มนุษย์ นักวิจัยเผยว่า นี่เป็นสิ่งที่ผิดปกติอย่างมาก ชี้ให้เห็นว่า จีโนมของทัวทาราเป็นการผสมผสานระหว่างส่วนประกอบของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานที่แปลกประหลาด การแบ่งปันองค์ประกอบซ้ำๆ ในสัตว์กลุ่มโมโนทรีม (Monotremes) อย่างตุ่นปากเป็ด ตัวกินมดมีหนาม และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นการบ่งบอกที่ชัดเจนถึงการมีบรรพบุรุษร่วมกันแม้ว่าจะนานมาแล้วก็ตาม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy