12 มกราคม 2568 เมื่อสาหร่ายและกากโกโก้ช่วยลดก๊าซมีเทนจากวัว

เมื่อสาหร่ายและกากโกโก้ช่วยลดก๊าซมีเทนจากวัว

ที่มา : Posttoday (https://www.posttoday.com/smart-life/717798)

ที่ผ่านมาเราอาจได้ยินว่า วัว หรือปศุสัตว์ในระบบเป็นอีกหนึ่งต้นตอภาวะโลกร้อน แต่จะเป็นอย่างไรหากเราสามารถลดการปล่อยมีเทนได้ด้วย สาหร่าย และ กากโกโก้

มีเทน จัดเป็นก๊าซเรือนกระจกอีกชนิดที่มีคุณสมบัติในการดักจับความร้อนสูง สามารถเก็บกักความร้อนภายในชั้นบรรยากาศมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ราว 25 – 30 เท่า นี่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและทำให้เราจำเป็นต้องหาทางจัดการอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในภาคปศุสัตว์ที่มีสัดส่วนการปล่อยมีเทนมากที่สุด

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็นแนวคิดในการลดการปล่อยมีเทนจากปศุสัตว์ด้วยสาหร่ายและกากโกโก้

สาหร่ายชนิดใหม่ที่ช่วยลดการปล่อยมีเทน 40% ผลงานนี้เป็นของนักวิจัยจาก University of California กับการค้นพบว่า สาหร่าย อาจเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาก๊าซมีเทนที่ปล่อยออกมาจากปศุสัตว์ โดยการผสมสาหร่ายเข้าไปในอาหารที่ป้อนให้วัวเนื้อในแต่ละมื้อ ช่วยลดอัตราการปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศได้มากกว่า 40%

แนวคิดนี้มาจากคุณสมบัติของสาหร่ายสีแดง Asparagopsis taxiformis ที่มีสาร Bromoform เข้าไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ในจุลินทรีย์ Methanogens ในกระเพาะวัว ตัวการสำคัญในการผลิตก๊าซมีเทน ทำให้เมื่อวัวได้รับประทานพืชประเภทสาหร่ายเข้าไปแล้วจะมีอัตราการปล่อยมีเทนลดลง

เมื่อทำการป้อนสาหร่ายชนิดนี้ร่วมกับอาหารให้แก่ปศุสัตว์ในปริมาณ 0.2 – 2% ของน้ำหนักตัว พบว่า วัวเนื้อและวัวนมมีอัตราการปล่อยก๊าซมีเทนลดลงจากเดิมกว่า 80% อีกทั้งการเติมสาหร่ายปะปนลงไปในอาหาร ยังไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและผลผลิตอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้ทำการทดสอบโดยการเติมสาหร่ายลงไปในอาหารวัวรูปแบบเม็ด เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนและความหายากของสาหร่ายชนิดนี้ตามท้องตลาด ผลปรากฏว่าวัวที่ได้รับอาหารดังกล่าว สามารถลดอัตราการปล่อยก๊าซมีเทนลงจากเดิม 40% โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพ

นี่จึงถือเป็นหนึ่งตัวเลือกสำหรับลดการปล่อยมีเทนภายในปศุสัตว์ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงมาก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy