12 พฤศจิกายน 2563 ฟอสซิล ๕๒๐ ล้านปีไขต้นกำเนิดอาร์โทรพอด

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1974732

อาร์โทรพอด (Arthropods) เป็นสัตว์เติบโตรุ่งเรืองมากที่สุดในโลกตั้งแต่สมัยแคมเบรียนเมื่อราว ๕๒๐ ล้านปีก่อน และแพร่หลายถึงร้อยละ ๘๐ ของสัตว์ทุกชนิดในปัจจุบัน มากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ บนโลก แต่สัตว์ขาปล้องจำพวกนี้มีวิวัฒนาการและบรรพบุรุษเป็นอย่างไร ยังเป็นปริศนาให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อรุ่นงงงวยมานานกว่าร้อยปี นักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยานานกิงของสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีนค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลสัตว์คล้ายกุ้งที่มี ๕ ดวงตาในมณฑลยูนนานของประเทศจีน เชื่อว่าจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสัตว์ขาปล้องในยุคแรกๆ ฟอสซิลนี้คือ ฉีหลินเซีย (Kylinxia) เป็นสายพันธุ์ลูกผสมที่หายากมากพบว่า ผสมผสานลักษณะทางสัณฐานวิทยาจากสัตว์ต่างๆ ซึ่งฉีหลิน (Kylin) คือ กิเลน และกุ้งคือ เซีย (xia) นักวิจัยเผยว่าสภาพทางด้านซากดึกดำบรรพ์วิทยาของฟอสซิลฉีหลินเซียมีความพิเศษมาก ด้วยโครงสร้างทางกายวิภาคที่สวยงาม ทั้งเนื้อเยื่อประสาทดวงตา และระบบย่อยอาหารซึ่งเป็นส่วนร่างกายที่อ่อนบอบบางและมักมองไม่เห็นในฟอสซิลทั่วไป ฉีหลินเซียแสดงลักษณะของสัตว์ขาปล้องอย่างโดดเด่น ดวงตาทั้ง ๕ นั้นคล้ายกับดวงตาของโอพาบิเนีย (Opabinia) สัตว์ทะเลในยุคแคมเบรียน และยังมีลักษณะคล้ายอโนมาโลคาริส (Anomalocaris) เป็นสัตว์นักล่าทางทะเลอันดับต้นๆ ในยุคแคมเบรียนหรือบางทีก็เรียกกุ้งโบราณ มีความยาวลำตัวได้ถึง ๒ ม. ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าการจัดวางวิวัฒนาการนั้น ฉีหลินเซียอยู่ระหว่างอโนมาโลคาริสและสัตว์ขาปล้องขนานแท้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy