12 กุมภาพันธ์ 2566 EIU The Economist Intelligence Unit (สถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจและการเมือง) ประเมินไทย กำลังเผชิญความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรง พร้อมประเมินผลกระทบ ในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น

ที่มา : https://www.thansettakij.com/sustainable/zero-carbon/555738

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate change ไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว ที่ผ่านมาเราคุ้นเคยกันดีกับคำว่า “ภาวะโลกร้อน” หรือ “ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก” ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมาจะพบว่านานาประเทศ รวมถึงประเทศไทย มีความพยายามจะช่วยกันบรรลุเป้าหมาย Net Zero เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์มาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก

  ปัจจัยสำคัญในการจัดการกับปัญหาสภาวะอากาศ ข้อตกลงปารีส มีเป้าหมายลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามรักษาอุณหภูมิให้อยู่ที่ระดับ 1.5 องศาเซลเซียส และแน่นอนเราต่างก็รับรู้ได้ว่าบางอย่างในระบบภูมิอากาศของโลกนั้นมีความผิดปกติไปจากเดิม

  สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำดังนี้

  1. จัดทำแผนการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสำหรับภาคพลังงานและการขนส่งในระยะยาว

  2. ภาคพลังงานซึ่งเป็นแหล่งปล่อยมลพิษที่ใหญ่ที่สุด จำเป็นต้องเปลี่ยนจากก๊าซธรรมชาติ ไปสู่พลังงานหมุนเวียน

  3. ภาคการผลิตเพื่อการส่งออกและอุตสาหกรรมหนักของไทยจำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและผ่านการเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าในกรณีที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อการบริโภคโดยตรง

  4. ภาคการขนส่งต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะและส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้า

  5. ภาคเกษตรกรรม จำเป็นต้องจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การกักเก็บคาร์บอน (เช่น การปลูกป่า) และการดักจับและกักเก็บคาร์บอน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy