11 มีนาคม 2564 ฉลามยักษ์น้ำลึก ๓ ชนิดเรืองแสงในความมืด

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/society/2047637
วิทยาลัยคาทอลิก เดอ ลูแวง ในประเทศเบลเยียม และสถาบันวิจัยสัตว์น้ำและบรรยากาศแห่งชาติในประเทศนิวซีแลนด์ค้นพบฉลามน้ำลึกที่เรืองแสง ๓ สายพันธุ์อาศัยอยู่บริเวณแชธัมไรซ์ ที่เป็นพื้นมหาสมุทรทางตะวันออกของประเทศนิวซีแลนด์ ที่ผ่านๆ มาเราต่างรู้ว่าสัตว์ทะเลหลายประเภทรวมถึงแมลงบางชนิด เช่น หิ่งห้อยสร้างแสงของตัวได้ แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่พบในฉลามขนาดใหญ่ ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์เมื่อเดือน ม.ค. ปีที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นคือ ฉลามไคต์ฟิน (kitefin shark) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง และเรืองแสงที่ใหญ่ที่สุด โดยมันสามารถมีขนาดยาวได้ถึง ๑๘๐ ซม. ส่วนอีกชนิดคือ ฉลามโคมไฟ blackbelly lanternshark และ southern lanternshark ฉลามทั้งหมดอาศัยอยู่ในโซนเมโซพีลาจิก (mesopelagic) หรือแดนสนธยาในมหาสมุทรลึกระหว่าง ๒๐๐ – ๑,๐๐๐ ม. ซึ่งเป็นความลึกสูงสุดที่แสงแดดยังพอส่องถึง เมื่อมองจากด้านล่างฉลามจะมองย้อนแสงกับผิวน้ำที่สว่างไสว ทำให้พวกมันต้องพบกับสัตว์นักล่าที่เก่งกาจโดยไม่มีที่ซ่อน นักวิทยาศาสตร์เผยว่า การเรืองแสงเกิดขึ้นได้จากโฟโตฟอร์ (photophore) จำนวนหลายพันตัวที่อยู่ภายในผิวหนังของฉลาม ฉลามไคต์ฟินมีจุดเรืองแสงตามท้องด้านข้าง หลัง และครีบหลังซึ่งควบคุมโดยฮอร์โมน ทั้งนี้ การส่องแสงเรืองรองออกมาของฉลามนั้น อาจช่วยให้พวกมันแอบซ่อนพรางตัวจากนักล่าหรือภัยคุกคามอื่นๆ ที่อยู่ใต้น้ำได้นั่นเอง