11 มีนาคม 2563 แมงป่องสร้างสารเรืองแสงช่วยป้องกันปรสิต

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1791779

กว่า 60 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ยอมรับคุณสมบัติบางอย่างของแมงป่อง อย่างการเรืองแสงภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งปัจจุบันมีเพียงสารประกอบเรืองแสงเพียง 2 ชนิดเท่านั้นคือ เบตาคาร์บอลีน (betacarboline) และ 7–hydroxy–4–me- thylcoumarin ที่พบในเปลือกแข็งด้านนอกของแมงป่องหรือโครงกระดูกภายนอก

เมื่อเร็วๆ นี้มีรายงานจากทีมนักวิจัยนานาชาติ ลงในวารสาร Journal of Natural Products ของสมาคมเคมีอเมริกันเผยว่า แมงป่องส่วนใหญ่จะเรืองแสงเป็นสีเขียวน้ำเงินเมื่อส่องสว่างด้วยแสงอัลตราไวโอเลต หรือแสงจันทร์จากธรรมชาติ ทว่านักวิจัยยังไม่แน่ใจว่าการเรืองแสงนี้มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร บางรายคาดการณ์ว่าแสงเรืองสว่างนี้ทำหน้าที่เป็นเสมือนครีมกันแดด หรือช่วยให้สัตว์มองเห็นกลุ่มของตนในที่มืด ที่สำคัญทีมวิจัยระบุว่า สารประกอบเรืองแสงจากแมงป่อง สามารถป้องกันปรสิตได้ หลังจากที่เคยสงสัยว่าอาจมีโมเลกุลเรืองแสงอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างกันโดยถูกละเลยจากการศึกษาวิจัย

ก่อนหน้านี้ พวกเขาจึงสกัดสารประกอบจากเปลือกแข็งของแมงป่องพันธุ์ Liocheles australasiae และทำให้บริสุทธิ์ ซึ่งสารประกอบนี้แสดงการเรืองแสงที่รุนแรงที่สุด ระบุโครงสร้างว่าเป็นสารประกอบพทาเลท (phthalate) มีคุณสมบัติต้านเชื้อราและต่อต้านปรสิตในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า โมเลกุลใหม่ที่พบในแมงป่องสายพันธุ์อื่นๆ สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อปรสิตในสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy