11 มกราคม 2564 ดีเอ็นเอโบราณไขปริศนามนุษย์เกาะมาเรียนา

ที่มา: https://www.thairath.co.th /news/foreign/2009808

หมู่เกาะมาเรียนาในแปซิฟิกตะวันตกอาจไม่ได้มีข้อมูลด้านการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างกระจ่างชัด ไม่เหมือนการตั้งถิ่นฐานของชาวโพลินีเซียนในภูมิภาคที่อยู่ในเขตโอเชียเนีย มหาสมุทรแปซิฟิก ที่มีจำนวนข้อมูลมากกว่า แต่เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยจากสถาบันมักซ์ พลังค์ด้านมานุษยวิทยาวิวัฒนาการ ประเทศเยอรมนีเผยว่า ต้องการค้นหาบรรพบุรุษของชาวเกาะมาเรียนาในปัจจุบัน ที่รู้จักในชื่อชาวชามอร์โร (Chamorro) ดูเหมือนจะมีความเกี่ยวข้องกับชาวโพลินีเซียน เพื่อตอบคำถามเหล่านี้นักวิจัยได้ใช้ข้อมูลดีเอ็นเอโบราณจากโครงกระดูก ๒ ร่างจากถ้ำใกล้หาดริทิเดียน ทางตอนเหนือของเกาะกวม ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกหมู่เกาะมาเรียนา นักวิจัยพบว่าบรรพบุรุษของโครงกระดูกโบราณเหล่านี้เชื่อมโยงกับฟิลิปปินส์ นั่นทำให้รู้ว่ามนุษย์ข้ามมหาสมุทรเปิดมากกว่า ๒,๐๐๐ กม. และตั้งรกรากอยู่ในหมู่เกาะมาเรียนาเมื่อประมาณ ๓,๕๐๐ ปีก่อน เร็วกว่าการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของโพลินีเซีย และยังพบความเชื่อมโยงใกล้ชิดระหว่างโครงกระดูกจากเกาะกวมโบราณกับคนในวัฒนธรรมแลพีตา (Lapita Culture) รุ่นแรก จากประเทศวานูอาตูและตองกาในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่ามาเรียนาและโพลินีเซียอาจตกเป็นอาณานิคมจากกลุ่มประชากรแหล่งเดียวกัน และมีความเป็นไปได้ที่มาเรียนาจะมีบทบาทในการตั้งถิ่นฐานของโพลินีเซีย อย่างไรก็ตาม แม้ผลการวิจัยใหม่จะให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ที่น่าสนใจ แต่ก็มีพื้นฐานมาจากโครงกระดูกเพียง ๒ ร่าง ทำให้เรื่องนี้ยังต้องสืบเสาะข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy