11 กุมภาพันธ์ 2564 ซากม้าให้ข้อมูลเชิงลึกการเลี้ยงม้าในชนพื้นเมือง

ที่มา: https://www.thairath.co.th /news/foreign/2030119

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ขณะสามีภรรยาชาวรัฐยูทาห์คู่หนึ่งทำสวนหลังบ้านที่อยู่ใกล้เมืองโพรโวอยู่ดีๆ พบโครงกระดูกของม้าสภาพเกือบสมบูรณ์ ขนาดเท่าลูกม้าแคระเชทแลนด์ เมื่อนักวิทยาศาสตร์เข้าไปตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบซากม้าตัวนี้อาจมีอายุมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ปี

วิลเลียม เทย์เลอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา และทีมงานวิจัยซากม้าดังกล่าวเพิ่มเติมจนสามารถระบุได้ว่า ซากม้าตัวนี้อยู่ในสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) ซึ่งเป็นยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด (last Ice Age) ไม่ใช่ม้าจากยุคน้ำแข็ง (Ice Age) จากการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกระดูกและดีเอ็นเอพบลักษณะกระดูกสันหลังหัก อธิบายได้ว่ากระดูกหักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมนุษย์กระแทกเข้ากับกระดูกสันหลังของม้าซ้ำๆ ในระหว่างการขี่ม้า ซึ่งจะไม่ปรากฏในสัตว์ป่า การวิเคราะห์ดีเอ็นเอระบุว่า นี่เป็นม้าจากลีไฮอยู่ในสายพันธุ์ Equus caballus เป็นเพศเมียอายุประมาณ ๑๒ ปี เมื่อใช้วิธีหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีบ่งบอกว่า ม้าตายในช่วงหลังของปลายศตวรรษที่ ๑๗ และดูเหมือนจะป่วยเป็นโรคข้ออักเสบที่ขาหลายข้าง ทีมวิจัยสรุปว่า ม้าตัวนี้เป็นม้าเลี้ยงตามบ้านเรือนในชุมชนของชาวพื้นเมืองอเมริกันอย่างเผ่าอูท หรือเผ่าโชโชน ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาอาศัยอยู่ถาวรในทวีปอเมริกา ซึ่งการวิจัยนี้อาจให้ข้อมูลความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างชนเผ่าพื้นเมืองและม้า

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy