10 สิงหาคม 2566 จากยุค “โลกร้อน” สู่ยุค “โลกเดือด”

 จากยุค “โลกร้อน” สู่ยุค “โลกเดือด”

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1082722

ขณะนี้เรากำลังเข้าสู่ “ยุคโลกเดือด” (global boiling) เนื่องจากเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมาถือเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในโลกเป็นประวัติการณ์เท่าที่มนุษย์ได้บันทึกไว้

อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นข้อพิสูจน์ถึงความจริงที่ว่ามนุษยคือผู้สร้างวิกฤตครั้งนี้ขึ้นประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องประสบกับฤดูร้อนที่โหดร้าย โดยอเมริกาเหนือ เอเชีย แอฟริกา และยุโรปต้องเผชิญกับความร้อนจัด

เลขาธิการสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ผู้นำโลกดำเนินการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างทันทีและเด็ดขาด โดยย้ำว่าไม่มีเวลาลังเลหรือข้อแก้ตัวอีกต่อไปแล้ว

โอกาสในการจำกัดไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายที่สุดยังคงมีอยู่ แต่จำเป็นต้องมีการดำเนินการด้านนี้ในทันทีและจริงจังอย่างมาก

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีความคืบหน้าบ้าง แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองต่ออุณหภูมิที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) จึงเร่งด่วนกว่าที่เคยเป็นมา

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดยกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล มีหลักฐานให้เห็นจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ความถี่ที่เพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรง และการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในระบบนิเวศและรูปแบบการย้ายถิ่นของสัตว์

ทั้งนี้ การทำความเข้าใจวิกฤตสภาพอากาศเป็นเพียงแง่มุมหนึ่งของการจัดการ มุมมองที่เหมาะสมในประเด็นนี้เผยให้เห็นปัญหาที่ลึกและเป็นระบบมากกว่านั้น นั่นคือการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม เมื่อมองอีกภาพอนาคตอีกฉากทัศน์หนึ่ง ในฐานะประเทศเล็กอย่างประเทศไทยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 0.8% ของก๊าซเรือนกระจกที่มีการปล่อยทั่วโลก

ดังนั้น แม้ประเทศไทยจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สำเร็จ แต่ก็ยังถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับทั้งโลก หากความร่วมมือระหว่างประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกไม่สำเร็จตามเป้าหมายในระดับโลก ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในฉากทัศน์อนาคตนี้จะรุนแรงมาก

ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องให้น้ำหนักกับยุทธศาสตร์การปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง (Adaptation) ในลำดับความสำคัญที่สูงเป็นพิเศษ ทั้งในระดับนโยบาย ธุรกิจ ชุมชนและปัจเจกบุคคล เพื่อให้ ประเทศและประชาชนมีความยืดหยุ่นเพียงพอในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นสูงในศตวรรษนี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy