10 มีนาคม 2565 แมวน้ำช่วยเก็บข้อมูลใต้น้ำแข็งแอนตาร์กติกา

ที่มา:
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2337047
ในช่วงฤดูร้อน นักวิจัยสามารถเดินทางไปทวีปแอนตาร์กติกาโดยใช้เรือตัดน้ำแข็งเพื่อทำกิจกรรมวิจัยรวบรวมข้อมูลที่นั่นได้ทันที แต่ในช่วงฤดูหนาว บางอย่างก็ไม่อาจทำได้ในหลายพื้นที่ ในสถานการณ์เช่นนี้มนุษย์ต้องพึ่งพาสัตว์หลายชนิด เช่น แมวน้ำที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของทวีปแอนตาร์กติกาให้พวกมันรวบรวมข้อมูล เมื่อเร็ว ๆ นี้ โนบุโอะ โคคุบัน นักนิเวศวิทยาทางทะเลชาวญี่ปุ่น หัวหน้าโครงการวิจัยสำรวจน้ำใต้พืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกาเผยว่า ใช้บริการ 8 แมวน้ำเวดเดลล์ (Weddell Seal) เป็นแมวน้ำที่กระจายพันธุ์อยู่รอบ ๆ ทวีปแอนตาร์กติกา โดยแต่ละตัวมีอุปกรณ์คล้ายสวมหมวกกันน็อกที่มีเสาอากาศ ทำหน้าที่เป็นตัวเซ็นเซอร์วัดค่าการนำไฟฟ้า อุณหภูมิ และความลึก อุปกรณ์เหล่านี้มีน้ำหนัก 580 กรัม จะติดบนศีรษะของแมวน้ำ ซึ่งจะช่วยนักวิทยาศาสตร์รวบรวมข้อมูลการสังเกตการณ์ เช่น อุณหภูมิของน้ำ และระดับเกลือในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่รุนแรงมาก โดยโครงการวิจัยมีขึ้นระหว่างเดือน มี.ค.-พ.ย. 2560 ในทวีปแอนตาร์กติกา ข้อมูลที่รวบรวมได้สำเร็จจากแมวน้ำ 7 ตัว แสดงให้เห็นว่า หนึ่งในนั้นเดินทางมาไกลถึง 633 กม. จากชายฝั่งของสถานีโชวะ ของญี่ปุ่น ที่ตั้งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ในขณะที่อีกตัวหนึ่งได้ลงไปที่ระดับความลึก 700 ม. นักวิจัยเผยว่า นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้ข้อมูลน้ำทะเลอุ่นจากชั้นบนในทะเลเปิดไปถึงทวีปแอนตาร์กติกาตั้งแต่เดือน มี.ค.จนถึงฤดูหนาวในปีนั้น และน้ำไหลที่อยู่ใต้น้ำแข็งนำสัตว์ทะเล เช่น เคยแอนตาร์กติกซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักของแมวน้ำมา อย่างไรก็ตาม นักวิจัยมีเป้าหมายตรวจสอบผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลแอนตาร์กติก และหวังว่าจะทำอุปกรณ์มีขนาดเล็กพอดีกับสัตว์อื่น ๆ ที่ขั้วโลกใต้ เช่น นกเพนกวิน