10 มีนาคม 2565 ค้นพบวัฒนธรรมเก่าแก่อายุ 40,000 ปี ในจีน

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2337045

การวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่า มนุษย์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) มาถึงเอเชียเหนือเมื่อราว 40,000 ปีที่แล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลชีวิต และการปรับตัวทางวัฒนธรรม แต่ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์โบราณกลุ่มอื่นยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด ยังมีความสงสัยว่า โฮโมเซเปียนส์มาถึงจีนครั้งแรกเมื่อใด และเกิดอะไรขึ้นเมื่อพบกับมนุษย์เดนิโซวาน (Denisovans) หรือมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล (Nean derthals) ซึ่งเป็นเครือญาติมนุษย์ด้วยกันที่อาศัยอยู่ที่แห่งนั้น ล่าสุด ทีมนักวิจัยนานาชาตินำโดยสถาบันมรดกวัฒนธรรมและโบราณคดีแห่งมณฑลเหอเป่ย, สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน และสถาบันมักซ์ พลังค์ ในเยอรมนี เผยผลศึกษาจากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีเซี่ยมาเป่ย (Xiamabei) ในลุ่มน้ำหนีเห่อวาน ทางตอนเหนือของจีนว่า พบลักษณะทางวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งในเซี่ยมาเป่ย นั่นคือการใช้สีเหลืองสดอย่างแพร่หลาย มีสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ในการผลิตเม็ดสีปริมาณมาก แสดงว่ามีการนำสีเหลืองประเภทต่าง ๆ มาในพื้นที่แห่งนี้ ผ่านกรรมวิธีโดยการทุบ และบดเพื่อผลิตผงที่มีสีและความสม่ำเสมอต่างกัน การผลิตสีเหลืองอ่อนหรือส้มแดง (Ocher) ที่เซี่ยมาเป่ยจึงเป็นตัวอย่างแรกสุดของการปฏิบัติการนี้ในเอเชียตะวันออก

นอกจากนี้ นักวิจัยระบุว่า เครื่องมือหินที่เซี่ยมาเป่ยแสดงถึงการปรับตัวทางวัฒนธรรมแบบใหม่ในภาคเหนือของจีนเมื่อ 40,000 ปีก่อน เครื่องมือหินคล้ายใบมีดที่พบที่นี่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะของภูมิภาคนี้ เครื่องมือส่วนใหญ่ถูกย่อให้เล็กลง โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งวัดได้น้อยกว่า 20 มม. เครื่องมือหิน 7 ชิ้นถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจนของการทำด้ามจับ และการวิเคราะห์การใช้งานรวมถึงสารตกค้าง นำเสนอว่ามนุษย์โบราณใช้เครื่องมือคว้าน ขูดอำพราง เหลาวัสดุจากพืช และหั่นเนื้อสัตว์ที่อ่อนนุ่ม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy