10 พฤษภาคม 2566 มลพิษทางอากาศอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเครียดและซึมเศร้า

ที่มา : https://www.inquirer.com/health/wellness/depression-anxiety-factors-air-pollution-mexico-city-study-alzheimers-parkinsons-20230509.html
นักพิษวิทยาและนักประสาทวิทยา Lilian Calderón-Garcidueñas ซึ่งสังกัดมหาวิทยาลัย Universidad del Valle de México ในเม็กซิโกซิตี้และมหาวิทยาลัย Montana ได้ทำการศึกษาสมองของมนุษย์ 203 คน ที่อาศัยอยู่ในเม็กซิโกซิตี้ ซึ่งมีเพียงคนเดียวที่ไม่แสดงสัญญาณของการเสื่อมสภาพของระบบประสาท จึงนำไปสู่ข้อสรุปว่าการได้รับมลพิษทางอากาศส่งผลเสียต่อระบบการดมกลิ่นของผู้คนตั้งแต่อายุยังน้อย และอาจทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาทมากขึ้น เช่น อัลไซเมอร์และพาร์กินสัน
Calderón-Garcidueñas กล่าวว่า สารก่อมลพิษที่ “มีบทบาทสำคัญ” คือ Particulate matter “ซึ่งเล็กพอที่สามารถข้ามแนวกั้นของเราได้” โดยเราสามารถตรวจพบอนุภาคนาโนภายในเซลล์ประสาท เซลล์เกลีย และเซลล์เยื่อบุผิว ซึ่งเธอกล่าวต่อว่า “เราเห็นสิ่งที่ไม่ควรจะอยู่ในร่างกายเลย เช่น ไททาเนียม เหล็ก และทองแดง” การวิจัยแสดงให้เห็นว่าอนุภาคขนาดเล็กสามารถลอดผ่านระบบกรองของร่างกายเมื่อหายใจเข้าทางจมูกและปากและเดินทางเข้าสู่สมองโดยตรง โดยอนุภาคที่ละเอียดเหล่านี้ มาจากไอเสียดีเซล เขม่า ฝุ่นละออง และควันไฟป่า รวมถึงแหล่งอื่น ๆ ที่มีการใช้ยานพาหนะบ่อย
นักวิจัยกล่าวว่า การสรุปผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสมองนั้นยากกว่าอวัยวะอื่น ๆ เนื่องจากเป็นส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นจึงไม่ได้รับการวิจัยอย่างละเอียดถี่ถ้วน มลพิษทางอากาศอาจเป็นสาเหตุหรือมีส่วนทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์หรือพาร์กินสันหรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ผลงานของ Calderón-Garcidueñas ถือเป็นตัวนำในการแสดงให้เห็นว่า มลพิษทางอากาศเข้าสู่สมองโดยตรงผ่านอากาศที่เราหายใจ