1 มิถุนายน 2566 แผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไทย เดินหน้าไปถึงไหนแล้ว

ที่มา : The Active Thai PBS (https://theactive.net/read/geenhouse-emission-plan/)
การลดภาวะก๊าซเรือนกระจก คือบทบาทสำคัญของประเทศไทยที่ต้องทำ หลังนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ว่าไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ เพื่อบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 ความท้าทายนี้ยังมีข้อต่อสำคัญที่ต้องร่วมมือหลายภาคส่วน ซึ่งหากไม่เริ่มเดินหน้าก็อาจถูกกีดกันทางการค้าในต่างประเทศ
ล่าสุด รายงานความเสี่ยงโลกประจำปี 2566 (Global Risks Report 2023) The World Economic Forum จากนี้ไปอีก 10 ปี โลกจะเผชิญความเสี่ยง 10 เรื่อง ทั้งความเสี่ยงระยะสั้นและระยะยาว ขณะที่ พบ 1 ใน 5 เรื่อง เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติ และในปีที่ 11 ไปจนถึง
ปีที่ 20 นั้นจะไม่ใช่เพียง 5 ข้อ แต่อาจมากถึง 10 ข้อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง
วราวุธ ศิลปะอาชา รมว.ทส. กล่าวในงานพลิกวิกฤตมหัตภัยโลกร้อน หลังสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ม.เกษตร จัดขึ้นว่า สำหรับประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 0.8 ของโลกใบนี้ เป็นอันดับที่ 19 ของโลก โดย จีน ปล่อยมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
แต่อีกด้านหนึ่ง ประเทศไทยกลับเป็น 1 ใน 10 ประเทศแรกของโลก ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ขณะที่ปีนี้ (2566) ไทยจะเผชิญภัยแล้งต่อเนื่องไป 3 ปีข้างหน้าเพราะเป็นช่วงปรากฏการณ์เอลนีโญ หลังจากนั้นก็จะเกิดน้ำท่วมที่ต่อเนื่องเป็น ช่วง ๆ ด้วยลานีญาอีกครั้ง
ก่อนหน้านี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเจตนารมณ์ของไทยในช่วงปลายปี 2564 ว่าไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 และจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ
เป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 และด้วยการสนับสนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้ กรอบอนุสัญญาฯ ไทยจะยกระดับ NDC (Nationally Determined Contribution) หรือ เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ จะบอกว่าภายในปี 2030 ของเราขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี ค.ศ. 2050 โดยมีทั้งแผนระยะสั้น และระยะยาว จากแผนดังกล่าว คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 หรือ อีก 2 ปี ต่อจากนี้ประเทศไทยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด ซึ่งเราจะปล่อย 388 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2525 และถัดไปอีก ปี 2030 เราจะต้องลดไป 40% ตามแผนระยะสั้นหรือ NDC โดยภาคพลังงานและภาคขนส่ง ต้องลดให้ได้ 266 ล้านตัน จากที่ปล่อยออกมา ภาคอุตสาหกรรม ต้องลดให้ได้ 2.25 ล้านตัน ภายในปี 2030 ภาคของเสียต้องลดก๊าซเรือนกระจกนั้น ประมาณ 2.6 ล้านตัน ภาคที่ท้าทายกับประเทศไทยอย่างยิ่ง คือภาคการเกษตร ต้องลดให้ได้ 1 ล้านตัน