1 พฤศจิกายน 2565 คาร์บอนเครดิต : 12 เรื่องควรรู้ “ทีมกรุ๊ป” แนะรัฐ-อบก. เร่งสนับสนุน กำกับดูแล

ที่มา : https://www.thansettakij.com/sustainable/zero-carbon/545573

คาร์บอนเครดิต : 12 เรื่องควรรู้ “ทีมกรุ๊ป” แนะรัฐ-อบก. เร่งสนับสนุน เเละกำกับดูแล
ตลาดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตให้เข้มแข็ง

นาทีนี้ไม่พูดถึงคงไม่ได้สำหรับการซื้อขาย “คาร์บอนเครดิต” ที่กำลังเติบโตคึกคักทั่วโลกไม่เพียงแต่ช่วยสร้างสมดุลใน “การปล่อยก๊าซเรือนกระจก” เเต่ยังจุดประกายการมีส่วนร่วมของธุรกิจให้สามารถแสวงหาโอกาสทำประโยชน์ได้ ด้วยการนำเครดิตเหลือเหล่านั้นมาขึ้นทะเบียนขายให้กับธุรกิจอื่นที่ปล่อยก๊าซในระดับสูงเกินเกณฑ์ และจำเป็นต้องหาเครดิตมาชดเชย

นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จํากัด (มหาชน) หรือ ทีมกรุ๊ป อธิบายว่า  ตลาดคาร์บอนเครดิต เป็นกลไกหนึ่งในการลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งแบบเป็น 2 ประเภทคือตลาดภาคบังคับ และตลาดภาคสมัครใจ ซึ่งกลไกของประเทศไทยเป็นตลาดภาคสมัครใจ ภายใต้โครงการ T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction scheme) และต่อไปนี้คือ 12 ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับ ตลาดคาร์บอนเครดิต อาทิ

          1. ตลาดภาคบังคับ เช่นกลไกการซื้อขายสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ ETS (Emission Trading Scheme) เป็นกลไกภายใต้ UNFCCC และภายใต้พิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นตลาดที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนใบอนุญาติในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แบบ Cap and Trade ซึ่งสิทธิ์นี้ถูกกำหนดด้วยนโยบายของแต่ละประเทศ เช่น ตลาด EU ETS

          2. กลไกภาษีคาร์บอนก็เป็นหนึ่งในกลไกตลาดภาคบังคับ โดยเรียกเก็บภาษีจากคาร์บอนที่ถูกปล่อยออกมาเกินกว่าสิทธิ์ที่ได้รับอนุญาต

          3. กลไก CDM (Clean development machanism) เป็นกลไกภาคสมัครใจหนึ่ง  ภายใต้ UNFCCC ที่อนุญาตให้ประเทศที่อยู่ใน annex 1 หรือส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว มีกลไกภาคบังคับ สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศ non-annex 1 หรือประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ได้ รวมถึงไทยด้วย

นายชวลิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีมกรุ๊ป มีข้อเสนอว่า  รัฐบาลควรต้องสนับสนุนและกระตุ้นให้องค์การก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เข้มแข็งในการดำเนินการส่งเสริมการประเมินคาร์บอน และการซื้อขายคาร์บอนเครดิตให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ขณะที่ อบก. ควรเร่งรัด และ สนับสนุนให้คนไทย มีความรู้ มีความสามารถ จนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ในการเป็นผู้ประเมินคาร์บอน และคาร์บอนเครดิตของงานในลักษณะต่างๆ เพื่อจะให้มีค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการที่ลดลง เเละควรจะกำกับดูแลตลาดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น  เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อขาย ไม่ให้เกิดการเอาเปรียบกดราคาจากต่างประเทศ เป็นต้น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy