1 กันยายน 2564 ผลยันชัด พิษงูบราซิลระงับการติดโควิด-19

ที่มา: https://www.naewna.com/inter/598961

นักวิจัยชาวบราซิลพบโมเลกุลในพิษของงูชนิดหนึ่ง มีประสิทธิยับยั้งการแพร่พันธุ์ของโคโรนาไวรัสในเซลล์ลิง ซึ่งเป็นก้าวแรกที่เป็นไปได้สู่การใช้ยาเพื่อต่อสู้กับไวรัสที่ก่อให้เกิดโควิด-19 ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Molecules ในเดือนนี้ พบโมเลกุลที่ผลิตโดยงูพิษชนิดหนึ่งคือ จาราราคุสซู ( jararacussu) มีพลังในการยับยั้งความสามารถของไวรัสในการทวีคูณในเซลล์ลิงได้ถึงร้อยละ 75 ราฟาเอล กุยโด ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเซาเปาโล และผู้เขียนผลการศึกษากล่าวว่า เราสามารถแสดงให้เห็นว่าพิษงูของส่วนประกอบนี้สามารถยับยั้งโปรตีนที่สำคัญมากจากไวรัสได้ โมเลกุลนี้เป็นเปปไทด์ หรือสายโซ่ของกรดอะมิโนที่สามารถเชื่อมต่อกับเอนไซม์ของโคโรนาไวรัส ที่เรียกว่า PLPro ซึ่งมีความสำคัญต่อการสืบพันธุ์ของไวรัสโดยไม่ทำอันตรายต่อเซลล์อื่น กุยโดกล่าวว่า เปปไทด์เป็นที่รู้จักในด้านคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย จึงสามารถสังเคราะห์เปปไทด์ได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องจับหรือเลี้ยงงู “เราระมัดระวังเกี่ยวกับผู้คนที่ออกไปล่าจาราราคุสซูที่อาศัยรอบ ๆ บราซิล โดยคิดว่าพวกเขาจะกอบกู้โลกใบนี้คืนมา แต่ไม่ต้องทำแบบนั้น!” จูเซปเป้ ปูออร์โต้ นักสัตววิทยาที่ดูแลการรวบรวมทางชีววิทยาของสถาบันบูตันตัน ในเซาเปาโลกล่าวว่า ไม่ใช่พิษที่จะรักษาโคโรนาไวรัส

จากนี้ นักวิจัยจะใช้การประเมินประสิทธิภาพของปริมาณโมเลกุลที่แตกต่างกันและสามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ตั้งแต่แรกได้หรือไม่ ตามคำแถลงของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเซาเปาโล (Unesp) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิจัยทั้งหมด พวกเขาหวังว่าจะทดสอบสารในเซลล์ของมนุษย์ในเร็ววันนี้ จาราราคุสซู เป็นงูพิษขนาดใหญ่ในบราซิล โดยมีความยาวไม่ต่ำกว่า 2 ม. มันอาศัยอยู่ในป่าแอตแลนติกชายฝั่งและยังพบในประเทศโบลิเวียปารากวัย และอาร์เจนตินา

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy