มาตรการด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่ธุรกิจไทยต้องรู้เพื่อความยั่งยืน

มาตรการด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่ธุรกิจไทยต้องรู้เพื่อความยั่งยืน

มาตรการด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่ธุรกิจไทยต้องรู้เพื่อความยั่งยืน 📑🏦🌏

การดำเนินธุรกิจที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในปัจจุบันมีเครื่องมือสนับสนุนที่หลากหลาย ตัวอย่างมาตรการด้านความหลากหลายทางชีวภาพในปัจจุบัน เช่น

กรอบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ
Taskforce on Nature-related Financial Disclosures (TNFD) คือ กรอบแนวทางสำหรับองค์กรธุรกิจและสถาบันการเงินในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยพัฒนากรอบการรายงานอิงตามแนวทางของ Taskforce on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) ซึ่งเป็นกรอบการรายงานด้านความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศ
(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://setsustainability.com/libraries/1297/item/biodiversity?type=&search= )

ข้อบังคับของสหภาพยุโรปว่าด้วยผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการทำลายป่า European Union Deforestation Regulation (EUDR) คือ ข้อบังคับของสหภาพยุโรปว่าด้วยผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการทำลายป่า ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเป้าหมายเพื่อลดการผลิตและการบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าที่เข้าหรือออกจากตลาดสหภาพยุโรป ห้ามนำเข้าสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่า/ป่าเสื่อมโทรม 7 กลุ่มหลักเข้าสู่ EU ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง ไม้ โกโก้
กาแฟ ปศุสัตว์ และยางพารา
(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://pefc.org/eudr )

มาตรฐาน Forest Stewardship Council (FSC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ภาครัฐซึ่งอุทิศตนเพื่อส่งเสริมการจัดการป่าไม้ทั่วโลกอย่างมีความรับผิดชอบ โดยจัดทำระบบการรับรองที่มุ่งส่งเสริมการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน
โดยเน้นให้ป่าไม้ถูกจัดการอย่างรับผิดชอบ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม มาตรฐาน FSC จะรับรองสินค้าที่มาจากป่าไม้ที่จัดการอย่างยั่งยืน โดยช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อต้นไม้
และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น
(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://anz.fsc.org/what-is-fsc )

🤍 อย่างไรก็ตาม การอนุรักษ์ และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วน มาร่วมมือกันขับเคลื่อนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นกระแสหลักในสังคม 🤍

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มงานขับเคลื่อนนโยบายและกลไก
กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
📞ติดต่อ โทร. 0 2265 6500 ต่อ 6735 คุณจิรภิญญา/คุณรัฐรวี

#onepthailand #chmthailand #BusinessBiodiversity

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy