ประเภทพื้นที่สีเขียว 6 ประเภท

ประเภทพื้นที่สีเขียว แบ่งออกเป็น ๖ ประเภท ตามคุณลักษณะและการใช้ประโยชน์ ในแนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ได้แก่

1) พื้นที่สีเขียวสาธารณะ อาทิ สวนสาธารณะ สวนหย่อม สวนสุขภาพ สวนพฤกษศาสตร์ สนามเด็กเล่น
2) พื้นที่สีเขียวอรรถประโยชน์ ประกอบด้วย
     2.1) พื้นที่สีเขียวส่วนบุคคล เช่น สวนในโครงการพัฒนาของเอกชน สวนในบ้านและอาคารพักอาศัย เป็นต้น
     2.2) พื้นที่สีเขียวในสถาบัน อาทิ สถาบันราชการ สถาบันการศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์
     2.3) พื้นที่สีเขียวในพื้นที่สาธารณูปการ เช่น พื้นที่ฝังกลบขยะ พื้นที่รอบบ่อบำบัดน้ำเสีย และเขตท่าอากาศยาน เป็นต้น
3) พื้นที่สีเขียวที่เป็นริ้วยาวตามแนวสาธารณูปการ อาทิ พื้นที่ริมทางสัญจรทางบก บริเวณริมถนน เกาะกลางถนน เขตทางรถไฟ และพื้นที่ริมทางสัญจรทางน้ำ บริเวณริมแม่น้ำ คลองชลประทาน
4) พื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิจของชุมชน เช่น พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ พื้นที่สีเขียวที่เป็นแหล่งผลิตอาหารแก่ชุมชน ประเภท ไร่ นา สวนผลไม้ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น
5) พื้นที่สีเขียวธรรมชาติ เช่น พื้นที่ป่า ป่าธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวบนเนินเขา พื้นที่ชุ่มน้ำ พรุ แหล่งน้ำ เป็นต้น
6) พื้นที่สีเขียวที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์หรือรอการพัฒนา อาทิ พื้นที่สีเขียวที่ปล่อยรกร้าง

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม แนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570)

ประเภทพื้นที่สีเขียว 6 ประเภท

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy