การประชุมรับฟังความคิดเห็น ในระดับประเทศต่อผลการศึกษาการปรับปรุงยุทธศาสตร์ระยะยาว ในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (LT-LEDS) และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้การมีส่วนร่วมที่ประเทศำหนด (NDC)

สผ. โดยกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (กปอ.) ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในระดับประเทศต่อผลการศึกษาการปรับปรุงยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (LT-LEDS) และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) เมื่อวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ ห้องวิภาวดี บอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว กรุงเทพฯ ร่วมกับสื่อออนไลน์ (Webinar) และช่องทางเพจ Facebook โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการ สผ. ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุม H.E. Mr. Georg Schmidt เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจําประเทศไทย ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ และนายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการ สผ. ให้เกียรติเข้าร่วมประชุม และ รศ.ดร.บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ นําเสนอ IPCC AR6 WGI – III, The Sixth Assessment Report, Climate Change 2022 และนำเสนอรายละเอียดแนวคิดและผลการศึกษา“ การปรับปรุงยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (Thailand’s Long – Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy: LT-LEDS) และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้การมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด (Nationally Determined Contribution: NDC)” ที่ประเทศไทยจะมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ในปี ค.ศ. 2065 และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ NDC ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 ร้อยละ 40 ในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งแบ่งเป็นการดำเนินการได้เองในประเทศ ร้อยละ 30 และการดำเนินงานที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ร้อยละ 10 โดยได้รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาการปรับปรุงยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ (LT-LEDS) และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ NDC จากผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และ สผ. จะนําความเห็นที่ได้รับไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนนําเสนอต่อระดับนโยบายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามขั้นตอน ก่อนจัดส่งไปยัง UNFCCC ก่อนการประชุม COP27 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ณ เมือง Sharm el-Sheikh สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ทั้งนี้มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมฯ จำนวนประมาณ 450 คน

จัดทำและเผยแพร่โดย
กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy