6 ธันวาคม 2562 กฟผ.เฝ้าระวังน้ำในเขื่อนภูมิพล

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/745414

นายอมร แก่นสารี ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล จ. ตาก ปัจจุบันมีระดับน้ำ อยู่ที่ 5,887 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุเขื่อน แต่มีระดับน้ำที่ใช้งานได้จริง อยู่ที่ 1,978 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุดเขื่อน ซึ่งระดับน้ำ เป็นระดับใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะเดียวกันทางเขื่อนได้รับคำสั่งจากคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ให้เตรียมพร้อมการบริหารจัดการน้ำรองรับช่วงฤดูแล้งเพื่อให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ โดยในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 62 ถึง 30 เม.ย. 63 ให้ปล่อยน้ำปริมาณ 1,300 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือวันละประมาณ 7-8 ล้านลูกบาศก์เมตร “ระดับน้ำตอนนี้ แม้จะไม่วิฤกติเหมือนช่วงปี 58 ที่เขื่อนภูมิพลฯมีระดับต่ำสุดเหลือไม่ถึงร้อยละ 20 ของความจุเขื่อน ทำให้ต้องประหยัดการใช้น้ำมาก ซึ่งตอนนี้ก็ยังบริหารจัดการได้ แต่ก็อยู่ในภาวะต้องเฝ้าระวัง และขอให้ประชาชนอย่าวิตกกังวล เพราะกฟผ. จะบริหารจัดการน้ำอย่างระมัดระวัง และคำนึงถึงการอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรก” นอกจากนี้กฟผ. อยู่ระหว่างศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ หรือโซลาร์ลอยน้ำ ในเขื่อนภูมิพล กำลังการผลิต 778 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น 3 เฟส ใช้พื้นที่ประมาณ 8,000 ไร่ ตั้งเป้าหมายจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ หรือซีโอดี โดยเฟส 1 กำลังการผลิต 158 เมกะวัตต์  ซีโอดีปี 69  , เฟส 2  กำลังการผลิต 300 เมกะวัตต์ ซีโอดีปี 73 และเฟส 3 กำลังการผลิต 320 เมกะวัตต์  ซีโอดีปี 76  เป็นการสร้างโซลาร์ลอยน้ำ 1 เมกะวัตต์ “ ถ้าศึกษาแล้วเสร็จ และได้รับการอนุมัติจากภาครัฐแล้ว คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างเฟส 1 ในปี 65 ส่วนฟสต่อไปต้องรอประเมินผลจากเฟสแรกก่อน ซึ่งการก่อสร้างที่เขื่อนภูมิพลไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต้องมาพิจารณาว่า  จะเดินเสาส่งไฟฟ้าอย่างไร ซึ่งเกี่ยวข้องกับพื้นที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และต้องดูว่า จะขัดขวางการเดินเรือ ต้องขออนุญาตกรมเจ้าท่า อีกทั้งเขื่อนภูมิพื้นที่แคบ และลึก การก่อสร้างขนาดใหญ่ทำได้ลำบากกว่า เขื่อนสิรินธรที่มีพื้นที่กว้าง ต้องรอผลการศึกษาที่เหมาะสมก่อน” ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าโซลาร์ลอยน้ำในเขื่อนภูมิพล จะออกแบบเป็นไฮบริดที่มีขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า เท่ากับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน อยู่ที่ 778 เมกะวัตต์ เพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนค่าไฟฟ้าไม่ให้สูงขึ้น หรืออยู่ในกรอบที่ภาครัฐกำหนดต้นทุนต้องไม่เกิน 2.40 บาทต่อหน่วย เพราะต้องยอมรับว่า การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ลอยน้ำยังมีต้นทุนสูงอยู่ที่ประมาณ 4-5 บาทต่อหน่วย โดยประโยชน์จากการติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำในเขื่อนนั้น ถือเป็นการใช้พื้นที่เขื่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปัญหาการต่อต้านจากชุมชน ที่นับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าใหม่ในอนาคต

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content