4 สิงหาคม 2563 “ความลับยังดำมืด” ปริศนาสโตนเฮนจ์ แม้รู้ที่มา “แต่ไม่รู้มาได้อย่างไร”

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1901212

สโตนเฮนจ์ คือ หมู่หินขนาดมหึมาอายุกว่า ๕ พันปี ที่วางเรียงรายเป็นระยะทางราว ๓ กม. กลางท้องทุ่งที่ราบซอลส์บรี ในเขตวิลท์เชอร์ ทางตอนใต้ของอังกฤษ มีหินทั้งสิ้นจำนวน ๑๑๒ ก้อนตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน ๓ วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันวางนอน และบางอันถูกวางซ้อนกัน ความลึกลับของหมู่หินสโตนเฮนจ์ ทำให้ที่นี่ถูกจัดให้เป็น ๑ ใน ๗ สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของอังกฤษ จนมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกหลั่งไหลมาเยี่ยมชมกลุ่มหินประหลาดนี้กันทุกปี เมื่อปี ๒๕๖๒ องค์การอนุรักษ์แห่งอังกฤษ เพิ่งได้ชิ้นส่วนที่หายไปชิ้นหนึ่งของสโตนเฮนจ์กลับมาไว้ครอบครอง หลังจากสูญหายไปเป็นเวลากว่า ๖๐ ปี โดยชิ้นส่วนที่ว่านี้เป็นชิ้นส่วนหินที่ถูกเจาะออกไปเพื่อให้คนงานเสริมความแข็งแรงของโบราณสถานด้วยแท่งเหล็ก ในระหว่างการบูรณะโบราณสถานในปี ๒๕๐๑ โดยมีลักษณะเป็นแกนหินทรายทรงกระบอกความยาว ๑๐๘ ซม. นายโรเบิร์ต ฟิลลิปส์ หนึ่งในคนงานที่บูรณะโบราณสถานเป็นคนเก็บเอาไว้ ก่อนที่เขาจะตัดสินใจคืนมันให้แก่องค์การอนุรักษ์หลังจากวันเกิดอายุครบ ๙๐ ปี ซึ่งชิ้นส่วนแกนกลางของหินทรายนี้เป็นกุญแจสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์ได้นำไปทดสอบทางเคมี และนำไปสู่การค้นพบครั้งใหม่

จากผลการศึกษาที่มีการตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances เมื่อวันพุธที่ ๒๙ ก.ค. ๖๓ นำโดยศาสตราจารย์เดวิด แนช นักวิชาการด้านธรณีสัณฐานวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยไบรท์ตัน ซึ่งเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ในโครงการศึกษาแหล่งที่มาหินที่สโตนเฮจน์เปิดเผยว่า จากการทดสอบทางธรณีเคมีของนักวิทยาศาสตร์ในอังกฤษเปรียบเทียบตัวอย่างหินทรายที่มีอยู่ทุกแห่งทางตอนใต้ของประเทศพบว่า แท่งหินทรายขนาดใหญ่ ๕๐ ก้อน จากจำนวน ๕๒ ก้อนของหมู่หินบริเวณสโตนเฮนจ์ที่ยังเหลืออยู่ ตรงกับหินทรายที่อยู่ในป่าเวสต์วูดส์เพียงแหล่งเดียว โดยป่าแห่งนี้อยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งสโตนเฮนจ์ไปประมาณ ๑๕ ไมล์ หรือ ๒๕ กม. เท่านั้น และเชื่อว่าหินทรายเดิมที่มีอยู่ถึง ๘๐ ก้อน น่าจะถูกเคลื่อนย้ายมาที่สโตนเฮนจ์ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยอาจจะใช้วิธีลาก หรือกลิ้งมาโดยใช้แรงงานคน หรือแรงงานสัตว์จำนวนมาก และแม้จะยังไม่แน่ชัดว่าเหตุผลใดผู้สร้างถึงได้เลือกหินจากป่าแห่งนี้ แต่อาจเป็นไปได้ว่า เป็นการเลือกจากขนาดที่พอเหมาะ รวมทั้งคุณภาพของหินในบริเวณดังกล่าว

ก่อนหน้านี้นักโบราณคดีได้ค้นพบแหล่งที่มาของหินบลูสโตน เป็นหนึ่งในหิน ๒ ชนิดในหมู่หินสโตนเฮนจ์ โดยค้นพบว่า แหล่งที่มาของหินบลูสโตน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า อยู่ที่เวลส์ ห่างจากสโตนเฮนจ์ถึงกว่า ๒๔๐ กม. แต่ในครั้งนั้นยังไม่ทราบแหล่งที่มาของหินอีกชนิดซึ่งเป็นหินทราย นอกจากนี้ยังค้นพบว่า หมู่หินของสโตนเฮนจ์เป็นการทยอยสร้างขึ้นในหลายช่วงเวลาด้วย หากย้อนไปในยุคทศวรรษที่ ๑๑๓๐ มีการเล่าขานกันของคนในยุคนั้นว่า แท่งหินเหล่านี้ถูกเคลื่อนย้ายมาด้วยมนตร์วิเศษของพ่อมด บ้างก็ว่าเป็นซากของวิหารโบราณ หรือเป็นที่ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์ ขณะที่บางกลุ่มเชื่อว่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีฝังศพ หรือเป็นสถานที่สำหรับรักษาผู้ป่วย เพราะพบกะโหลกมนุษย์ในบริเวณดังกล่าวมากผิดปกติ รวมทั้งยังมีแนวคิดว่านี่เป็นผลงานของมนุษย์ต่างดาว

ส่วนนักดาราศาสตร์เห็นว่าสโตนเฮนจ์ คือ เครื่องคำนวณเวลายุคก่อนประวัติศาสตร์ เพราะแนวของหินกลุ่มก้อนต่างๆ มีความสัมพันธ์กับแนวการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ ซึ่งแม้แต่ละฝ่ายจะอ้างทฤษฎี และสถิติต่างๆ มาสนับสนุนความเชื่อของตัวเอง แต่ก็ยังไม่มีใครรู้คำตอบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง และสโตนเฮนจ์มีไว้เพื่ออะไรกันแน่

จนถึงขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า สโตนเฮนจ์ถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร เนื่องจากคนในยุคก่อนยังไม่มีเครื่องทุ่นแรงเหมือนปัจจุบัน การจะเคลื่อนย้ายหินขนาดมหึมาเหล่านี้มาวางเรียง และซ้อนกันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงที่มีการสร้างสโตนเฮนจ์ขึ้นมาก็ยังไม่มีหลักฐานใดพิสูจน์ได้แน่ชัด

แต่การค้นพบแหล่งที่มาของหินเหล่านี้นับเป็นคำตอบที่ยิ่งใหญ่ ที่จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญพอจะปะติดปะต่อได้ว่า ผู้สร้างใช้วิธีใดในการตัดแต่งรูปทรงของหิน รวมทั้งใช้เส้นทางใดในการขนย้ายหินเหล่านี้มา ซึ่งจะช่วยต่อยอดให้นักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บข้อมูลเพื่อไขความลับสำคัญที่ยังเหลืออยู่ต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content