31 มีนาคม 2563 จับตาเดือนเมษายน น้ำทะเลหนุนสูง เพิ่มระบายเขื่อนเจ้าพระยาเจือจาง

ที่มา: https://www.komchadluek.net/news/agricultural/425399?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=agricultural

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม และวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำผ่านระบบ VDO Conference ไปยังผู้แทนจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมไปถึงเครือข่าย SWOC ทั่วประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และแนวทางการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2562/63 รวมทั้งการวางแผนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์สภาพอากาศว่า ในช่วงวันที่ 30 มี.ค. 63 ไปจนถึงวันที่ 6 เม.ย. 63 ทางตอนบนของประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเกิดฝนฟ้าคะนองได้ โดยเฉพาะบริเวณ จ. อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ จันทบุรี ระยอง ตราด และสระแก้ว ซึ่งเป็นพายุฤดูร้อนส่งผลให้มีฝนตก และลมกระโชกแรงเกิดขึ้น หลังจากนั้นปริมาณฝนจะลดลง และอากาศจะร้อนขึ้น สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกัน 36,516 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 13,178 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 9,307 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 2,611  ล้านลูกบาศก์เมตร คาดการณ์ว่า ณ วันที่ 1 พ.ค. 63 จะมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 2,100 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับสำรองไว้ใช้ต้นฤดูฝนหรือกรณีฝนทิ้งช่วง ในส่วนของผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งทั้งประเทศ ปัจจุบันมีการใช้น้ำตามแผนไปแล้ว 14,098 ล้านลูกบาศก์เมตร (แผนฯ 17,699 ล้านลูกบาศก์เมตร) หรือร้อยละ 80 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำตามแผนฯไปแล้วประมาณ 3,790 ล้านลูกบาศก์เมตร (แผนฯ 4,500 ล้านลูกบาศก์เมตร) หรือร้อยละ 84 ของแผนฯ

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าแม้ในระยะที่ผ่านมาจะมีฝนตกลงมาบ้างในหลายพื้นที่ แต่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและแม่น้ำสายหลักต่างๆ ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย ซึ่งหากเป็นไปตามที่กรมอุตุนิยมคาดการณ์ว่า ในช่วงต้นเดือนเม.ย. จะมีฝนตกลงทางตอนบนของประเทศ คาดว่าจะทำให้สถานการณ์ภัยแล้งบรรเทาเบาบางลงไปได้บ้าง นอกจากนี้ ในช่วงวันที่ 7 – 10 เม.ย. และ 25 – 29  เม.ย.นี้ จะเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูง กรมชลประทาน ได้วางมาตรการในการป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำ โดยการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 70 ลูกบาศก์เมตร /วินาที สำหรับใช้ในการเจือจางค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะไม่กระทบต่อแผนการใช้น้ำที่วางไว้ ส่วนปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันจะเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคไปจนถึงต้นฤดูฝนนี้แน่นอน จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content