31 กรกฎาคม 2563 ปลาทูไทยกำลังฟื้นตัว จะทำยังไงต่อ…ให้ยั่งยืน

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/local/1900289

อ่าวไทยในอดีตเคยจับปลาทูได้ปีละ ๑.๒ แสนตัน แต่ด้วยมีการจับเกินศักยภาพที่ธรรมชาติจะให้ได้ ปลาทูที่พร้อมจะวางไข่ในอ่าวไทยตอนกลาง ถูกจับไปมากถึงร้อยละ ๙๐ ด้วยเครื่องมือทำการประมงถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น และมีการใช้เครื่องมือทำประมงบางชนิดในเขตทะเลชายฝั่ง เช่น อวนล้อมจับ อวนติดตาที่ยาวกว่า ๒,๕๐๐ ม. ใช้เครื่องมือทำประมงประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ส่งผลให้ปี ๒๕๕๘ ปลาทูไทยลดลงอย่างน่าใจหายไปถึงร้อยละ ๗๒ เพราะจับได้แค่เพียง ๓๓,๙๓๑ ตัน และลดลงอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด สถิติปี ๒๕๖๑ จับได้เพียง ๑๑,๓๐๖ ตัน หรือแค่ร้อยละ ๙.๔ จากที่เคยจับได้ในอดีต แต่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีสัญญาณ ปลาทูไทยกำลังจะกลับมา ด้วยสถิติการจับปลาทูได้เพิ่มมากขึ้น จับได้ ๑๙,๔๒๒ ตัน เพิ่มจากปีก่อนหน้า ร้อยละ ๗๑ ปีนี้ กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง คาดการณ์ว่าจะจับได้ ๒๑,๒๑๘ ตัน ปัจจุบันปลาทูไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว เป็นผลมาจากกรมประมงได้เพิ่มมาตรการฟื้นฟูทรัพยากรปลาทูอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ หลังจากเห็นแนวโน้มการลดลงของปลาทู จึงได้ปรับเปลี่ยนมาตรการต่างๆ เพื่อจะนำปลาทูกลับคืนมาให้ได้ผลมากที่สุด

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวถึงมาตรการต่างๆ ที่นำมาใช้จนเริ่มเห็นผลสัมฤทธิ์ การจัดระเบียบการทำประมงภายใต้พระราชกำหนดการทำประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการทำประมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย การบริหารจัดการด้านการประมง และการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ การใช้ปริมาณผลผลิตสูงสุดของสัตว์น้ำที่สามารถทำประมงได้อย่างยั่งยืน เป็นจุดอ้างอิงในการพิจารณาออกใบอนุญาตทำประมง ขยายพื้นที่และเวลาปิดอ่าวห้ามทำประมงในพื้นที่ ๗ ไมล์ทะเล การปิดอ่าวไทยตอนกลาง ตั้งแต่ ๑๖ พ.ค. – ๑๔ มิ.ย. รวมถึงการประกาศห้ามทำการประมงหรือปิดอ่าวบริเวณรอยต่อของพื้นที่ปิดอ่าวไทยตอนกลางและอ่าวไทยรูปตัว ก ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พ.ค. – ๑๔ มิ.ย.ของทุกปี พร้อมปรับปรุงการปิดอ่าวไทยตัว ก ให้สอดคล้องกับการอพยพของปลาทู โดยปิดอ่าว ๒ ช่วง อ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตกระหว่าง ๑๕ มิ.ย. – ๑๕ ส.ค. และอ่าวไทยตอนในด้านเหนือระหว่าง ๑ ส.ค. – ๓๐ ก.ย. ของทุกปี

ห้ามใช้เครื่องมือบางชนิดในเขตทะเลชายฝั่ง กำหนดมาตรการไม่ให้จับสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ยังไม่ได้ขนาด ห้ามใช้เครื่องมือบางชนิดในเขตชายฝั่ง ยกเลิกเครื่องมือประมงบางชนิดที่ทำลายลูกพันธุ์สัตว์น้ำ

แต่มาตรการทั้งหมดนี้ อธิบดีกรมประมงบอกว่า ยังถือว่าไม่เพียงพอต่อการฟื้นตัวของปลาทู จำเป็นต้องมีมาตรการทางสังคมเข้ามาช่วยอีกทางหนึ่ง รณรงค์ให้หยุดบริโภคปลาทูขนาดเล็ก อีกทั้งกรมประมงยังอยากให้มีมาตรการเพิ่มเติมให้ครอบคลุมวงจรชีวิตปลาทูในเขตอ่าวไทย ซึ่งเป็นรอบนอกของมาตรการปิดอ่าว ๕ ระยะ เพราะอยู่ในเส้นทางอพยพของปลาทูหนุ่มสาวที่จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ แต่มาตรการนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากพี่น้องชาวประมง ในการบริหารจัดการร่วมกันภายใต้ข้อมูลทางวิชาการและกระทบต่อชาวประมงน้อยที่สุด เพื่อให้ปลาทูมีปริมาณเพียงพอสำหรับพี่น้องชาวประมงได้ประกอบอาชีพ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content