25 มกราคม 2564 ซากฟอสซิลใบไม้บ่งชี้ถึงการสูญพันธุ์ของพืช

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2019016

ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกเมื่อ ๖๖ ล้านปีก่อนนำไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ นอกจากจะกวาดล้างไดโนเสาร์ไปหมดโลกแล้วยังฆ่าพืชพรรณจำนวนมาก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความหลากหลายทางชีวภาพทั้งหมดที่เห็นกันในปัจจุบันนี้เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เหลือรอดจากการสูญพันธุ์ครั้งนั้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา นำโดยเอเลนา สไตล์ส เผยผลวิจัยซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลใบไม้มากกว่า ๓,๕๐๐ ใบที่ได้มาจาก ๒ พื้นที่ในภูมิภาคปาตาโกเนีย ประเทศอาร์เจนตินา เพื่อระบุถึงจำนวนสิ่งมีชีวิตในยุคครีเตเชียสที่เหลือรอดจากเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคพาลีโอจีน (Paleogene) นักวิจัยพบอัตราการสูญพันธุ์ในระดับสปีชีส์ (Species) ที่น่าประหลาดใจ ซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ ๙๒ ในปาตาโกเนีย เรียกว่า สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในงานวิจัยก่อนหน้านี้ นักวิจัยเผยว่า การวิเคราะห์ฟอสซิลใบไม้บ่งบอกว่าพืชพรรณในทวีปอเมริกาใต้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ แต่ก็ได้รับการสนองตอบอย่างรวดเร็ว และการฟื้นตัวของระบบนิเวศน่าจะใช้เวลาหลายล้านปี และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของใบไม้จากยุคครีเตเชียสไปจนถึงยุคพาลีโอจีน อาจให้เบาะแสเกี่ยวกับชนิดของสิ่งแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว พบมีความหลากหลายของรูปแบบใบมากขึ้นในยุคพาลีโอจีน ที่น่าฉงนก็คือ การสูญพันธุ์อยู่ในระดับสูง และจำนวนสปีชีส์ก็ลดลงเมื่อสิ้นสุดยุคครีเตเชียส แต่ถึงการสูญพันธุ์จะมีระดับสูงในช่วงท้ายยุคครีเตเชียส ทว่าพืชในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่กลับรอดชีวิต และมีความหลากหลายมากขึ้นในยุคพาลีโอจีน ซึ่งผู้รอดก็จะเป็นต้นไม้ขนาดเล็กมีใบเขียวเข้ม เช่น ใบกระวาน อะโวคาโด ตระกูลกุหลาบ ส่วนผลไม้ก็เช่น ราสเบอร์รี สตรอว์เบอร์รี

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content