14 ธันวาคม 2562 น้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายเร็ว 7 เท่า วิกฤติ Climate Change ลางร้ายหายนะโลก

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1723933?cx_testId=2&cx_testVariant=cx_1&cx_artPos=3#cxrecs_s

วิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือ Climate Change กำลังเป็นหายนภัยใหญ่หลวงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ชนิดที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ และนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมเตือนดังขึ้นเรื่อยๆ ว่ากำลังทำให้โลกใกล้ถึงจุดที่ไม่อาจจะกลับไปเยียวยาได้แล้ว ปี ค.ศ.2019 เป็นอีกปีที่ชาวโลกจำนวนไม่น้อย ได้ประสบหายนภัยธรรมชาติรุนแรง ตลอดจนรับฟังข่าว และได้เห็นภาพมหันตภัยทางธรรมชาติ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดถี่ขึ้น และทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่ากลัว ไม่ว่าจะเป็นพายุ-น้ำท่วม-อากาศหนาวเย็นมากขึ้น ร้อนแล้งขึ้น ไฟป่ารุนแรงขึ้น ธารน้ำแข็งขั้วโลก และบนยอดภูเขาสูงทั่วโลกกำลังละลายมากขึ้นอย่างน่าวิตก ทว่าขณะที่ ‘คนหัวเก่า’ อย่างโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้นำพาชาติมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก สวนทางกับความพยายามแก้ไขวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ในปี 2019 โลกก็ยังมีความหวังจากพลังของบรรดานักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลก รวมทั้ง เกรียตา ทุนแบร์ก สาวน้อยชาวสวีเดนวัย 16 ที่กลายเป็นพลังให้แก่เยาวชนคนหนุ่มสาวทั่วโลก ให้ลุกขึ้นมาช่วยกันรักษาโลกให้รอดพ้นจาก Climate Change

* สหรัฐอเมริกาเริ่มกระบวนการถอนตัวจาก ‘ความตกลงปารีส’

ข่าวร้ายข่าวหนึ่งที่กระหน่ำซ้ำเติมวิกฤติอากาศเปลี่ยนแปลงของโลก ก็คือ การที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้เมินเรื่องภาวะโลกร้อน (อย่างน่าผิดหวัง) โดยได้พาสหรัฐอเมริกาถอนตัวจาก ‘ความตกลงปารีส’ ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งความตกลงปารีสนี้ เป็นความตกลงกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก ตั้งแต่ พ.ศ.2563 พียงแต่ในปีนี้ รัฐบาลทรัมป์ได้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อนายไมค์ ปอมเปโอ รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศเมื่อ 4 พ.ย. 62 ว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้แจ้งต่อสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งจดหมายถึงนายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติแล้วว่า สหรัฐอเมริกาจะถอนตัวจากความตกลงปารีส 2015 โดยขั้นตอนแรกของกระบวนการจะใช้เวลาหนึ่งปี ซึ่งการออกจากข้อตกลงนี้จะครบกำหนด 1 วัน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ของสหรัฐฯ วันที่ 4 พ.ย.2020

*ข้อมูลยืนยันจากนาซา โลกร้อนขึ้นอย่างน่ากลัว

ขณะที่ทรัมป์ ไม่เชื่อว่าสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และภาวะโลกร้อนจากฝีมือมนุษย์ และยังพาสหรัฐอเมริกา ถอนตัวจาก ‘ความตกลงปารีส’ เพราะมีความเห็นว่าสร้างภาระทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมให้กับชาวอเมริกันนั้น ทว่าจากรายงานขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (นาซา) หน่วยงานสำคัญของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการยอมรับจากชาวโลก ได้รายงานการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และภาวะโลกร้อนที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รายงานของ NASA-NOAA
– ระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในชั้นบรรยากาศโลกเมื่อ 16 ก.ย. 2019 อยู่ที่ 412.14 ส่วนในล้านส่วน (ppm) สูงสุดในรอบ 650,000 ปี 

– อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.9 องศาฟาเรนไฮต์ นับตั้งแต่ปี 1880

*น้ำแข็งกรีนแลนด์ ละลายเร็วกว่า 20 ปีที่แล้ว ถึง 7 เท่า

จากรายงานการศึกษาใหม่โดยนาซา และสำนักงานอวกาศยุโรป (ESA) โดยได้ข้อมูลจากดาวเทียมติดตามผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่กรีนแลนด์ เกาะใหญ่สุดในมหาสมุทรอาร์กติก และอยู่ทางเหนือสุดของโลกใกล้ขั้วโลกพบว่า แผ่นน้ำแข็งที่กรีนแลนด์กำลังละลายอย่างรวดเร็ว โดยได้สูญเสียน้ำแข็งไปแล้วถึง 3.8 ล้านล้านตัน ระหว่างปี 1992-2018 ที่น่าวิตกตามมาอย่างยิ่งก็คือ การละลายอย่างรวดเร็วของน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ กำลังส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น โดยคาดว่าในปี ค.ศ. 2100 ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะสูงขึ้นประมาณ 70-130 เซนติเมตร ซึ่งเลวร้ายกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า จากภาวะโลกร้อน โดยในช่วงทศวรรษ 1990 น้ำแข็งที่กรีนแลนด์ละลายเฉลี่ยแล้วประมาณ 25,000 ตันต่อปี ทว่าอัตราการละลายของน้ำแข็งในกรีนแลนด์ปัจจุบันอยู่ที่ 234,000 ตันต่อปี ซึ่งหมายถึง แผ่นน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ ละลายเร็วขึ้นกว่า 26 ปีที่แล้ว ถึง 7 เท่า นับตั้งแต่เริ่มมีการศึกษากันมาเลยทีเดียว

*อย่าให้โคอาลาน้อย ‘ลูอิส’ ตายฟรี

ภาพที่สร้างความตกตะลึงอย่างยิ่งจากภาวะโลกร้อน ช่วงส่งท้ายปี 2019 อันแสดงให้เห็นถึงมหันตภัยจากวิกฤติอากาศเปลี่ยนแปลง ก็คือ น้ำตกวิกตอเรีย บริเวณริมชายแดนแซมเบียและซิมบับเว ในทวีปแอฟริกากลับแห้งผาก จากสภาวะแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงไปนาน ทำให้แทบไม่เหลือร่องรอยของความยิ่งใหญ่ จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในโลก

และก่อนหน้านั้นไม่นาน ต้องสะเทือนใจกับข่าวโคอาลาน้อยลูอิสในประเทศออสเตรเลีย ที่กลายเป็นขวัญใจชาวโลก ที่สุดท้ายแพทย์ต้องตัดสินใจจบชีวิตลูอิส เพื่อให้พ้นจากความทรมานจากการที่ร่างกายถูกไฟไหม้บาดเจ็บสาหัส หลังจากลูอิสได้เป็นโคอาลาน้อยตัวหนึ่งที่ต้องประสบภัยเหตุไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และได้รับความช่วยเหลือจากหญิงฮีโร่ ที่ช่วยอุ้มมันออกมาจากบริเวณที่ถูกไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรงจนเป็นข่าวโด่งดังทั่วโลกที่ทำให้ผู้คนได้หันมาตระหนักถึงมหันตภัยจากไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ทำให้เกิดภาวะแห้งแล้งมากขึ้น

*ไทม์ยกย่อง เกรียตา ทุนแบร์ก บุคคลแห่งปี 2019

เกรียตา ทุนแบร์ก เด็กสาววัย 16 ชาวสวีเดน ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารไทม์ ให้เป็นบุคคลแห่งปี 2019 จากการที่เธอเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะเยาวชนคนหนุ่มคนสาวออกมาเคลื่อนไหวปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เกรียตา ทุนแบร์ก นับเป็นบุคคลอายุน้อยที่สุดที่ได้รับคัดเลือกจากไทม์ ให้เป็นบุคคลแห่งปี นับแต่นิตยสารทรงอิทธิพลฉบับนี้ในสหรัฐอเมริกา เริ่มมีการคัดเลือกบุคคลแห่งปีเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 1927 ระหว่างที่เกรียตา ทุนแบร์ก กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสุดยอดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่กรุงมาดริดเมื่อ 11 ธ.ค. 2562 เธอได้เรียกร้องให้ผู้นำทั่วโลกหยุดใช้ ‘การพีอาร์ ประชาสัมพันธ์แบบสร้างสรรค์’ เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินการปฏิบัติอย่างจริงจังในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ความพยายามของเกรียตา ทุนแบร์ก ได้ต่อสู้อย่างจริงจังและโดดเดี่ยวในเรื่องนี้อย่างกล้าหาญมาตั้งแต่ปีที่แล้ว จากการที่เธอได้ขอหยุด ไม่เข้าห้องเรียนในทุกวันศุกร์ เพื่อต้องการมาประท้วงที่ด้านนอกรัฐสภาสวีเดน และเรียกร้องรัฐสภาให้ดำเนินการหาทางแก้ไขภาวะโลกร้อน จนเกรียตา ทุนแบร์กได้กลายเป็นแรงบันดาลใจจุดประกายให้เยาวชนทั่วโลกออกมาเคลื่อนไหวปกปักรักษาโลกให้รอดพ้นจากวิกฤติโลกร้อน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content