1 มิถุนายน 2563 นักวิชาการแจงสาหร่ายเขียวในแม่น้ำปิงเป็นปรากฏการณ์ปกติ ชี้แนวโน้มเสี่ยงปัญหาระบบนิเวศ

ที่มา: https://www.naewna.com/local/496383

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่กล่าวถึงปรากฏการณ์สาหร่ายที่เกิดขึ้นจำนวนมาก และลอยเป็นแพในแม่น้ำปิง เป็นปรากฏการณ์ที่ทางวิชาการเรียกว่า ปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication)  หรือทั่วไปเรียกว่าสาหร่ายบลูม เกิดจากในน้ำมีสารอินทรีย์ที่เป็นอาหารของสาหร่ายเป็นจำนวนมาก ทั้งฝนตกแล้วชะล้างลงมาและการปล่อยของเสีย ประกอบกับช่วงนี้มีแสงแดดจัด และน้ำนิ่ง ทำให้สาหร่ายเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว เป็นเรื่องปกติที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งต่อฤดูฝน เพียงแต่ว่าในกรณีนี้เกิดขึ้นมากผิดปกติ เพราะน้ำนิ่งจากการกักน้ำ แต่หากน้ำไหลก็จะไม่มีการสะสม และตามระบบปกติในธรรมชาตินั้น สาหร่ายเหล่านี้ก็จะเป็นอาหารปลา ทำให้ถูกกำจัดออกไปตามห่วงโซ่อาหารอยู่แล้ว  สาหร่ายชนิดนี้เบื้องต้นเชื่อว่า ไม่น่าจะมีพิษเพราะทั่วไปแล้วสาหร่ายในระบบนิเวศน์น้ำไหลอย่างแม่น้ำนั้น ไม่มีพิษและเป็นอาหารของปลา รวมทั้งไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตามยอมรับว่า สาหร่ายมีจำนวนมากเกินไป ทำให้เกิดภาพที่ไม่สวยงามส่งผลต่อทัศนียภาพ และหากปล่อยไว้โดยที่ไม่มีการเฝ้าระวัง บำบัด หรือควบคุม ทำให้เกิดปัญหาและส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในแหล่งน้ำได้ ซึ่งในช่วงกลางวันนั้นไม่มีปัญหา เพราะสาหร่ายสังเคราะห์แสงผลิตออกซิเจนได้ แต่ในช่วงกลางคืนสาหร่ายสังเคราะห์แสงไม่ได้แต่ต้องใช้ออกซิเจนด้วย ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดน้อยลงและต้องแย่งกันใช้ทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ขาดออกซิเจนจนตายลงไป ทั้งนี้หากเกิดต่อเนื่องยาวนาน ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียได้ แต่ในกรณีนี้ของแม่น้ำปิง เชื่อว่าเมื่อเข้าสู่หน้าฝนและน้ำไหลแล้วสาหร่ายเหล่านี้ก็จะค่อยๆ หมดไป

อย่างไรก็ตามผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่กล่าวว่า แม้กรณีนี้ยังไม่เป็นปัญหารุนแรงขั้นวิกฤติ แต่ยอมรับว่าสะท้อนให้เห็นว่าแม่น้ำปิงมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหารุนแรงขึ้นได้ เพราะมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา เช่น อาจมีการปล่อยของเสียลงสู่แม่น้ำปิง ซึ่งประชาชนและผู้ประกอบการควรให้ความตระหนักและช่วยกันป้องกันหรือลดความเสี่ยง นอกจากนี้ยังบ่งบอกว่า ในแม่น้ำปิงมีปลาหรือสัตว์น้ำขนาดใหญ่ลดลง และเหลือแต่ปลาเล็ก ทำให้สาหร่ายเจริญและขยายพันธุ์จำนวนมาก แทนที่จะถูกกำจัดไปตามระบบห่วงโซ่อาหาร ขณะเดียวกันจากการที่ในแม่น้ำปิงมีประตูระบายน้ำ และกักน้ำด้วยเหตุผลความจำเป็นต่างๆ อาจต้องมีการพิจารณาเกี่ยวเรื่องการกักเก็บ และบริหารจัดการน้ำให้เกิดความสมดุล

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พงษ์พันธุ์ ลีฬหเกรียงไกร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปปรากฏการณ์นี้จะเกิดในแหล่งน้ำนิ่ง เบื้องต้นเชื่อว่าปัญหานี้แก้ไขได้เพียงรอน้ำใหม่ไหลมาระบายชะล้างสาหร่ายที่เกิดขึ้นนี้ให้ไหลไปตามระบบเจือจาง ขณะเดียวกันไม่ต้องเป็นห่วงว่าสาหร่ายชนิดนี้จะเป็นอันตรายต่อคน เพราะไม่น่าใช่สาหร่ายพิษ เนื่องจากเป็นสาหร่ายในระบบนิเวศน้ำไหลที่ปกติมักจะเป็นสาหร่ายชนิดที่เป็นอาหารของปลา โดยปรากฏการณ์นี้คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นในคูเมืองเชียงใหม่ที่น้ำนิ่งประกอบกับมีสารอาหารและแสงแดดดี ทำให้สาหร่ายเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เร็ว แต่ในกรณีแม่น้ำปิงดีกว่าคูเมืองเชียงใหม่ เพราะเป็นแม่น้ำที่เป็นระบบนิเวศน้ำไหล เมื่อน้ำไหลตามปกติแล้วสาหร่ายก็จะหายไป ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นนี้มองว่า ควรเป็นสิ่งสะท้อนและกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักว่า การปล่อยน้ำเสีย หรือการใช้น้ำผิดประเภทก่อให้เกิดปัญหาตามมา ส่วนเรื่องการบริหารจัดการเปิดปิดประตูน้ำนั้นต้องให้หน่วยงานรับผิดชอบพิจารณาอย่างเหมาะสมต่อไป เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหานี้ในระยะยาวด้วย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content