“วราวุธ” รมว.ทส. กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย เพื่อแสดงจุดยืนในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเวทีการประชุมเรื่อง โลกร้อน

เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ซึ่งมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เลขาธิการ สผ.) และดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการ สผ. เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี (High-level Segment) ของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๕ (COP25) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ ๑๕ (CMP 15) และการประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ ๒ (CMA 2) ซึ่งจัดขึ้นที่ กรุงมาดริด ประเทศสเปน โดยมี Ms. Carolina Schmidt รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐชิลี ในฐานะประธาน COP 25/CMP 15/CMA 2 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐมนตรีของประเทศต่าง ๆ กล่าวถ้อยแถลงเพื่อแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและความคาดหวังในการประชุมครั้งนี้

ในการนี้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส.ได้กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย เพื่อแสดงจุดยืนในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการบูรณาการเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งในวาระการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในส่วนของการดำเนินงานในช่วงก่อนสิ้นปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในการลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ ๑๔ เปอร์เซ็นต์ เมื่อปี ๒๕๖๐ ในภาคพลังงานและขนส่ง ซึ่งคิดเป็นสองเท่าของเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศไทยตั้งเป้าหมายไว้สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๖๓ นอกจากนั้น ประเทศไทยได้พยายามเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการดำเนินงานภายในประเทศ โดยการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในประเทศ และกำหนดโครงสร้างที่จำเป็นในการดำเนินการให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดทั้งในด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวจากผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้การดำเนินงานในประเทศสอดคล้องและตอบโจทย์เป้าหมายความตกลงปารีส นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดทำร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับแรกของไทย การจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และการปรับปรุงระบบการเงินในประเทศ รวมถึงการเสริมสร้างบทบาทของกองทุนสิ่งแวดล้อมในการสนับสนุนทางการเงินแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนในการจัดทำโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ประเทศไทยยังมุ่งมั่นที่จะบูรณาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับประเด็นสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การลดมลสารช่วงชีวิตสั้นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ (Short-lived climate pollutants) และขยะทะเล เป็นต้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้รวมกับประเทศต่าง ๆ ภายใต้กลไกความร่วมมือพหุภาคี ในโอกาสนี้ ประเทศไทยจึงแสดงความตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อปกป้องภูมิอากาศสำหรับอนาคตของโลกและลูกหลานของเราทุกคน

จัดทำและเผยแพร่โดย

กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content